Redirects 101 การเปลี่ยนเส้นทางของเว็บไซต์ ที่ช่วยให้ผู้ใช้และเสิร์ชเอนจินถูกส่งจาก URL หนึ่งไปยังอีก URL หนึ่งโดยอัตโนมัติ
ตัวอย่างเช่น เมื่อคุณพยายามเข้าเยี่ยมชม
www.seoguru.one/
(เมื่อมีการรีไดเร็กต์) มันจะพาคุณไปที่
www.seoguru.one/blog-seo
การเปลี่ยนเส้นทางช่วยให้ผู้ใช้และเสิร์ชเอนจินไปยัง URL เนื้อหาที่ทันสมัยและเกี่ยวข้อง
**รู้หรือไม่นอกจาก Google ยังมี 11 Search Engines ทางเลือก ที่ใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพเช่นเดียวกัน**
ซึ่งช่วยปรับปรุงประสบการณ์ของผู้ใช้ ช่วยให้เสิร์ชเอนจินสามารถค้นหาและจัดทำดัชนีเว็บไซต์ของคุณได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
โดยสรุป การรีไดเร็กต์สามารถช่วยให้คุณจัดการโครงสร้างเว็บไซต์และปรับปรุง SEO ของคุณได้
เมื่อคุณใช้มันอย่างถูกต้อง
ในคู่มือนี้ คุณจะได้เรียนรู้
- การรีไดเร็กต์ คืออะไร
- วิธีการรีไดเร็กต์ไปใช้ในทางที่ถูกต้องทำยังไง
- แนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดในการรีไดเร็กต์
เมื่อไหร่ควรใช้ Redirects 101
เว็บไซต์มีการเปลี่ยนแปลงและเติบโต และหากคุณมีเว็บไซต์ จะมีช่วงเวลาที่คุณต้องเปลี่ยนแปลงเว็บไซต์
มาดูตัวอย่างบางกรณีที่คุณอาจต้องการใช้การรีไดเร็กต์
การย้ายเว็บไซต์ (Site Migration)
การย้ายเว็บไซต์มักต้องการการย้ายการเข้าชมเว็บไซต์ ไปยังเว็บไซต์โดยเฉพาะในกรณีต่อไปนี้
การเปลี่ยนชื่อโดเมน
หากคุณเปลี่ยนจาก www.oldsite.com เป็น www.newsite.com แต่ละหน้าจากเว็บไซต์เก่าควรชี้ไปที่หน้าที่ตรงกันในโดเมนใหม่
สิ่งนี้จะช่วยให้ใครก็ตามที่พยายามเข้าถึงเว็บไซต์ในหน้าก่อนหน้า ไปยังเวอร์ชันที่เกี่ยวข้องในเว็บไซต์ใหม่ สำหรับคำแนะนำเพิ่มเติมในหัวข้อนี้ ให้ตรวจสอบรายการตรวจสอบการย้ายเว็บไซต์
การเปลี่ยนระบบจัดการเนื้อหา (CMS)
ระบบจัดการเนื้อหาต่าง ๆ อาจจัดระเบียบที่อยู่เว็บแตกต่างกัน ตัวอย่างเช่น หากคุณย้ายจาก WooCommerce (WordPress) ไปยัง Shopify URL บางส่วนของคุณอาจเปลี่ยนไป
Shopify ใช้ /collections สำหรับหมวดหมู่ ดังนั้น yoursite.com/category/mens-clothing จะเปลี่ยนเป็น yoursite.com/collections/mens-clothing บน Shopify
หากไม่ใช้การรีไดเร็กต์ ผู้ใช้และเสิร์ชเอนจินอาจไม่พบหน้าที่อยู่เว็บไซต์ใหม่ของคุณ
การขยายตลาดสู่ต่างประเทศ
อีกประเภทหนึ่งของการย้ายเว็บไซต์ ที่อาจต้องใช้การเปลี่ยนเส้นทางคือ เมื่อคุณย้ายไปยังโดเมนระดับสูง (country code) ที่มีรหัสประเทศต่างกัน เช่น การเปลี่ยนจาก yoursite.com เป็น yoursite.co.uk
สิ่งนี้เป็นเรื่องปกติเมื่อเจ้าของเว็บไซต์ขยายไปยังประเทศอื่น และต้องการมีเว็บไซต์ที่มุ่งเน้นตลาดแต่ละแห่งโดยเฉพาะ
หน้าถูกลบ
เมื่อคุณลบหน้าจากเว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถใช้การรีไดเร็กต์เพื่อชี้ไปยังหน้าที่เกี่ยวข้องหรือคล้ายคลึงกัน
ตัวอย่างเช่น คุณอาจมีสองหน้าที่ครอบคลุมหัวข้อเดียวกัน หากคุณรวมทั้งสองหน้าเข้าด้วยกัน อาจทำให้ข้อมูลครอบคลุมและสมบูรณ์มากขึ้น คุณจึงต้องทำการรีไดเร็กต์จากทั้งสองหน้าไปยังหน้าใหม่
หากไม่มีการใช้การรีไดเร็กต์ ผู้ใช้ที่พยายามเข้าถึง (หน้าที่ถูกลบไป) จะพบกับข้อผิดพลาด 404
หมายเหตุเพิ่มเติม
คุณควรรีไดเร็กต์ผู้ใช้ไปยังหน้าที่เกี่ยวข้องหรือคล้ายคลึงกัน การเปลี่ยนเส้นทางพวกเขาไปยังหน้าแรกหรือหน้าที่ไม่เกี่ยวข้อง เพื่อหลีกเลี่ยงลิงก์ที่เสีย อาจทำให้ผู้ใช้ไม่ได้ข้อมูลตรงตามที่ต้องการ
การเปลี่ยนไปใช้ HTTPS
โปรโตคอลการถ่ายโอนข้อมูลที่ปลอดภัย Hypertext transfer protocol secure (HTTPS) มีการเข้ารหัสระหว่างเซิร์ฟเวอร์ ดังนั้นคุณควรรีไดเร็กต์หน้าเว็บที่ใช้ HTTP ไปยังหน้าเว็บที่ใช้ HTTPS เพื่อเพิ่มความปลอดภัย
เนื่องจากเบราว์เซอร์มองว่า URL ของ HTTP และ HTTPS เป็นเอกลักษณ์ แม้จะเป็นหน้าเดียวกันก็ตาม
ตัวอย่างเช่น หากคุณพิมพ์ http://seoguru.one ลงในเบราว์เซอร์ URL นั้นจะถูกเปลี่ยนเส้นทางไปยัง https://seoguru.one โดยอัตโนมัติ ซึ่งทำให้แน่ใจว่าคุณใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างปลอดภัย
ที่สำคัญ Google ยังชอบเวอร์ชัน HTTPS ของหน้าเว็บของคุณด้วย
การเปลี่ยน URL (Permalinks)
หากคุณเปลี่ยนโครงสร้าง URL ของเว็บไซต์ (หรือ permalinks) คุณจะต้องตั้งค่าการเปลี่ยนเส้นทางจาก URL เก่าไปยังหน้าใหม่
สมมติว่า URL เก่าของคุณคือ www.yourwebsite.com/category/page?id=123 และคุณต้องการเปลี่ยนเป็น www.yourwebsite.com/new-page
คุณจะต้องเพิ่มการเปลี่ยนเส้นทางจาก URL เก่าไปยัง URL ใหม่ เพื่อส่งผู้เยี่ยมชมไปยังหน้าที่ต้องการโดยอัตโนมัติ
ผลกระทบของการรีไดเร็กต์ต่อ SEO
การรีไดเรกต์ส่งผลเสียต่อการทำ SEO หากไม่ใช้งานอย่างถูกต้อง การดำเนินการที่ไม่ดี อาจทำให้เกิดลิงก์ที่เสีย, คะแนนของแต่ละหน้าลดลง และส่งผลทำให้อันดับของเว็บไซต์ลดลง
แต่เมื่อคุณใช้การรีไดเรกต์อย่างถูกต้อง มันจะส่งผลดีต่อการทำ SEO ของคุณได้ในหลาย ๆ ด้าน
1. รักษาความเสถียรของลิงก์
ความเสถียรของลิงก์ หรือที่บางครั้งเรียกว่า ” link juice” หรือ ‘’link equity’’ เป็นกระบวนเกี่ยวกับการทำงานของลิงก์ การเชื่อมโยงลิงก์หรือที่เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ‘’link building” เมื่อคุณตั้งค่ารีไดเรกต์อย่างถูกต้อง ความเสถียรของลิงก์จาก URL จะถูกส่งต่อไปยัง URL ใหม่
เพื่อช่วยรักษาอันดับของหน้า ทำให้เว็บไซต์ยังมีอันดับที่คงที่
2. ช่วยให้เสิร์ชเอนจินเข้าใจโครงสร้างของเว็บไซต์
การรีไดเรกต์ช่วยแนะบอทของ Google ไปยังหน้าที่ถูกต้อง ช่วยให้พวกเขาเข้าใจโครงสร้างของเว็บไซต์ของคุณ และทำให้การจัดทำดัชนีและจัดอันดับเนื้อหาเว็บไซต์ได้ง่ายยิ่งขึ้น
ดังนั้นจึงไม่ควรเสียเวลาในการสำรวจหน้าเก่าหรือหน้าที่ไม่มีอยู่ให้เสียเวลา
3. ปรับปรุงประสบการณ์ของผู้ใช้
การรีไดเรกต์ 101 ยังช่วยให้ผู้เข้าชมค้นหาหน้าถูกต้อง ซึ่งช่วยป้องกันไม่ให้พวกเขาเจอกับเนื้อหาเก่าหรือเนื้อหาที่ไม่มีประโยชน์บนเว็บไซต์ของคุณ
เมื่อผู้ใช้ได้เข้าสู่หน้าที่มีข้อมูลตรงตามที่ต้องการ มีแนวโน้มที่ผู้ใช้จะอยู่ในเว็บไซต์นานขึ้น (และอาจกลับมาในอนาคต) ซึ่งสามารถช่วย SEO ของคุณได้ เพราะ Google มักจะให้คะแนนกับเนื้อหาที่มอบประสบการณ์ที่ดีในหน้าที่ผู้ใช้งานอยู่ในหน้าเป็นเวลานาน และยังอาจทำให้เว็บไซต์มีอันดับที่สูงขึ้น
อย่างไรก็ตาม การรีไดเรกต์อาจส่งผลต่อความเร็วของหน้าเว็บ ซึ่งอาจทำให้เกิดความช้าหลังจากทำการรีไดเรกต์ (แต่ก็ไม่ใช่เสมอไป)
ดังนั้นควรตรวจสอบความเร็วของเว็บไซต์ หลังจากที่ทำการรีไดเกรต์ เพื่อให้แน่ใจว่าทุกอย่างทำงานได้อย่างราบรื่น สามารถใช้เครื่องมือฟรี เช่น Page Speed Insights เพื่อทำการตรวจสอบความเร็วของหน้าเว็บไซต์
ประเภทของการ Redirects 101
ประเภทการรีไดเรกต์มี 2 รูปแบบด้วยกัน
- Redirects ทางฝั่งเซิร์ฟเวอร์
- การเปลี่ยนเส้นทางฝั่งไคลเอนต์
1. การ Redirects ทางฝั่งเซิร์ฟเวอร์
การรีไดเรกต์ทางฝั่งเซิร์ฟเวอร์จะถูกตั้งค่าในเซิร์ฟเวอร์ที่โฮสต์เว็บไซต์ของคุณ
มีหลายประเภทของการรีไดเรกต์ฝั่งเซิร์ฟเวอร์ โดยทั่วไปมีประเภทที่พบมากที่สุด ได้แก่
- 301 Permanent Redirects
- 302 Temporary Redirects
- 303 Temporary Redirects
- 307 Temporary Redirects
- 308 Permanent Redirects
แต่สำหรับทางเลือกที่ได้รับความนิยมมากที่สุดต่อการทำคือ SEO คือการรีไดเรกต์ 301 และ 302
301 Permanent Redirects
การรีไดเรกต์ 301 สำหรับหน้าเว็บที่ย้ายอย่างถาวร
ตัวอย่างเช่น seoguru เคยมีข้อมูลเกี่ยวกับเทคนิคการทำเอสอีโอที่หน้า https://seoguru.one/backlinks-guide
เรายังได้อัปเดตหน้าและข้อมูลที่เกี่ยวข้องไว้ในหน้านั้น
เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงนั้น URL ก็เปลี่ยนเป็น https://seoguru.one/hub/seo/backlinks
และเนื่องจากเราใช้รีไดเรตก์ 301 แบบถาวร Google จึงเข้าใจว่านี่คือ URL ที่เราต้องการให้มีการจัดทำดัชนี
และนั่นคือหน้าที่ติดอันดับบน Google
การใช้การรีไดเรกต์ 301 ช่วยให้แน่ใจว่า การจัดอันดับจาก URL เก่าจะถูกส่งต่อไปยัง URL ใหม่
หมายเหตุ: ไม่มีการรับประกันว่าการจัดอันดับทั้งหมดของหน้าก่อนหน้า จะถูกส่งต่อไปยังหน้าที่ย้ายใหม่เมื่อทำการรีไดเรกต์
302 Temporary Redirects
ใช้การรีไดเรกต์ 302 สำหรับหน้าที่ถูกย้ายชั่วคราวไปยัง URL ใหม่ เช่น ในช่วงแคมเปญ , จัดกิจกรรมพิเศษ หรือ ต้องการหยุดการเข้าถึงเว็บไซต์ชั่วคราวเพื่อปรับปรุงเว็บไซต์
การรีไดเรกต์ 302 ผู้ใช้จะถูกเปลี่ยนเส้นทางไปยังหน้าที่ใหม่ แต่การทำงานของเสิร์ชเอนจิน จะไม่อัปเดตดัชนีไปยัง URL ใหม่ในระยะสั้น
ดังนั้น URL ดั้งเดิมจึง (โดยปกติ) ยังคงอยู่ในอันดับเดิมหรือไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ
อย่างไรก็ตาม ระบบจัดทำดัชนีของ Google ยังใช้การเปลี่ยนเส้นทาง 302 เป็นสัญญาณ “อ่อน” ว่า URL เป้าหมายเป็น canonical (หมายถึง URL ที่คุณต้องการให้ Google จัดทำดัชนี) ดังนั้นเช่นเดียวกับการรีไดเรกต์ประเภทอื่น ๆ แต่อย่างไรแล้วควรใช้งานการรีไดเรกต์ 302 อย่างระมัดระวังด้วยเช่นกัน