Google Analytics 4 สุดยอดเครื่องมือ ช่วยต่อยอดธุรกิจออนไลน์

Google Analytics 4

ตอนนี้ Google ประเทศไทยได้ประกาศออกมาว่า ยกเลิกใช้ Universal Analytics (UA) และให้เปลี่ยนไปใช้ Google Analytics 4 (GA4) แทน ซึ่งมีการเปิดตัวไปเมื่อช่วงเดือนธันวาคม 2020 ซึ่งมีการพัฒนาข้อมูลให้มีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น และได้ประกาศให้ย้ายแล้ว โดยมีผลเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2023 นั่นเอง วันนี้ทีมงาน SEO GURU จะพาไปทำความรู้จัก Google Analytics 4 ให้มากขึ้น

Google Analytics 4 คืออะไร

Google Analytics 4 ก็คือ เครื่องมือที่ใช้สำรวจผู้ใช้งาน และวิเคราะห์พฤติกรรมของผู้ใช้งานและเข้าชมเว็บไซต์แบบ Real-Time เพื่อที่จะนำข้อมูลนั้นนำไปใช้ในการพัฒนาและต่อยอดธุรกิจและเว็บไซต์ในอนาคต หลังจากที่ Google ได้ประกาศให้ใช้ Google Analytics 4 (GA4) แทน Universal analytics (UA)

แน่นอนว่า หากใครที่ยังคงใช้  Universal analytics (UA) อยู่ ก็ต้องเปลี่ยน ซึ่งเชื่อว่ามีหลายคนที่ยังไม่ทราบเรื่องนี้ และไม่รู้ว่า จะต้องทำอย่างไร จะต้องเตรียมตัวอะไรบ้าง

GA4 Dashboard

Dashboard หน้าแรก ของ GA4

สำหรับการเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้ เป็นการเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลดีมากกว่า ช่วยให้การประมวลผลได้กว้างและชัดเจนมากกว่าเดิม ซึ่งก็ส่งผลดีเกี่ยวกับการตลาดในแคมเปญต่างๆ ซึ่งการพัฒนาและการเปลี่ยนแปลงนี้ ทำให้การเก็บ Data  หรือ การเก็บข้อมูลมีความเป็นส่วนตัวมากขึ้น ทำให้ไม่ล่วงล้ำความเป็นส่วนตัวมากเกินไป

อ่านข้อมูลเกี่ยวกับ พฤติกรรมของผู้ใช้เพิ่มเติมได้ที่ : เจาะลึกพฤติกรรมผู้ใช้ ส่งผลต่อเว็บไซต์ และการทำ SEO อย่างไร ?

UA และ GA4 มีความแตกต่างกันอย่างไรบ้าง

ความแตกต่างระหว่าง UA และ GA4 คือ การเข้าถึงข้อมูลเชิงลึกในการใช้งานแอปพลิเคชั่น และเว็บไซต์ สำหรับคนที่อนุญาตให้มีการเก็บข้อมูล ก็จะถูกบันทึก ข้อมูลตามเหตุการณ์ต่างๆ แม้กระทั่งการดูหน้าจอ ซึ่งเป็นการรวบรวมข้อมูลแบบอัตโนมัติ ตั้งแต่เหตุการณ์แรก จนถึงเหตุการณ์สุดท้าย โดยจะทำการเก็บข้อมูลและประมวลผลตลอด 72 ชั่วโมง

ซึ่งจะแตกต่างจาก UA ที่จะมีการจัดเก็บข้อมูลถี่กว่า โดยจะเก็บข้อมูลทุกๆ 30 นาที โดยไม่สนใจว่าในตอนนั้นคุณจะทำกิจกรรมใดอยู่บ้าง และประมวลผลออกมาในเวลา 4 ชั่วโมง ในขณะที่ GA4 ทำการประมวลผลอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าตอนนั้นคุณจะหยุดใช้งานอุปกรณ์นั้นๆ ไปแล้วมากกว่า 12 ชั่วโมงก็ตาม แต่หลังจากที่กลับมาใช้งาน ก็จะยังมีการเก็บข้อมูลนั้นได้ต่อเนื่อง เรียกได้ว่า การเก็บข้อมูลมีเสถียรภาพมากกว่าเดิมนั่นเอง

Machine Learning (ML) ได้รวบรวมพฤติกรรมชองผู้ใช้งาน จัดเก็บตาม User Id ที่สามารถตั้งและกำหนดได้เอง โดยจะแยกเก็บข้อมูลตาม ID

ความแตกต่างของ UA และ GA4

ความแตกต่างของ GA4 กับ UA

สำหรับการเก็บข้อมูลของ UA จะต้องมีการติดตั้งด้วยตัวเองก่อน แต่สำหรับใน GA4 ไม่จำเป็นจะต้องติดตั้ง เพราะเป็นการจัดเก็บข้อมูลอัตโนมัติ ไม่ว่าจะเป็นการทำพฤติกรรมใดก็ตาม เช่น

  • การเลื่อนชมหน้าเว็บไซต์
  • การคลิกลิงก์
  • การเปิดหน้าเว็บไซต์แบบผ่านๆ
  • การคลิก หรือ การดูอะไรก็ตามบนหน้าเว็บไซต์ แม้กระทั่งใน ยูทูป
  • การดาวน์โหลดไฟล์ต่างๆ

UA จะเน้นเก็บข้อมูลของผู้ใช้ทั้งหมด แต่ GA4 จะเน้นเก็บข้อมูลทั้งของผู้ที่กำลังใช้งานอยู่ และ ผู้ใช้งานใหม่ แม้ว่าจะมีการหยุดใช้งานไปแล้วกว่า 72 ชั่วโมง ก็ยังคงมีการเก็บข้อมูล

ดังนั้น GA4 มีข้อดีมากมาย ที่จะทำให้นักหารตลาด หรือแม้แต่ Data Analytics ไม่จำเป็นที่จะต้องมาติดตั้งแท็กให้เสียเวลา ซึ่งการเก็บข้อมูลแบบอัตโนมัติแบบนี้ การนำส่งของข้อมูลจึงมีความแตกต่างกัน หากว่าได้ลองใช้แล้ว เชื่อว่าคุณจะต้องชื่นชอบการใช้ชุดข้อมูลนี้อย่างแน่นอน

อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง : 11 เครื่องมือค้นหาที่ดีที่สุดที่สามารถใช้แทน Google ได้

ความแตกต่างในการเก็บข้องมูล ของ UA และ GA4

Google Analytics

การวัดผลผู้ใช้งานทั้งหมด

  • UA : เก็บเฉพาะผู้ใช้งานหลัก
  • UA4 : เก็บผู้ใช้งานทั้งหมดตาม User Id

การวัดผลผู้ใช้งานใหม่

  • UA : จำนวนผู้ใช้งานที่มีการตอบโต้เว็บไซต์ในครั้งแรก
  • UA4 : ผู้ใช้งานตอบโต้กับเว็บไซต์เป็นครั้งแรกและ นับจาก User Id ใหม่ด้วย

การวัดผลผู้ที่ใช้งานอยู่แล้ว

  • UA : ไม่เก็บข้อมูล
  • UA4 : เก็บข้อมูลทุกอย่างของผู้ใช้งานเดิม เช่น การเข้าดูเหตุการณ์ครั้งแรก หรือ การมีปฎิสัมพันธ์ในครั้งแรก ซึ่งจะเก็บทั้งในเว็บไซต์และแอพลิเคชั่น

ประโยชน์ของ Google Analytics 4 มีอะไรบ้าง

ประโยชน์ของ Google Analytics

1. ข้อมูลมีความแม่นยำ

GA4 ได้มีการเก็บข้อมูลที่มีความแม่นยำมากกว่าเดิม จากเดิมที่มีการดึงข้อมูลมาจากเว็บไซต์ และแอปพลิเคชั่นมารวมกัน และทำการระบุตัวตน เพื่อให้ข้อมูลลูกค้ารวมเป็นคนเดียวกัน ตลอดทั้ง Journey โมเดลใหม่ช่วยให้ติดตาม วิเคราะห์เหตุการณ์ รวมไปถึงทำ Customer dimention ได้ง่าย ป้องกันความคลาดเคลื่อนของข้อมูล

แต่ GA4 เปลี่ยนรูปแบบการเก็บข้อมูลเป็นแบบ Event model ซึ่งทำให้มีโครงสร้างแบบเดียวกัน ทั้งเว็บไซต์และแอปพลิเคชั่น ทำให้การดึงข้อมูลมีความรวดเร็ว ไม่ต้องเสียเวลาจัดระเบียบข้อมูล

2. ใช้งานข้ามแพลตฟอร์มได้

แต่เดิม การจัดเก็บข้อมูลของ เว็บไซต์และ แอปพลิเคชั่น จะแยกเป็นคนละ Property ทำให้การอ่านข้อมูลต้องแยกกัน Customer Journey จึงไม่ต่อเนื่องกัน เพราะเวลานับลูกค้าจากแอปและเว็บไซต์ จะถูกแยกออกเป็นคนละคน ทั้งๆ ที่ อาจจะเป็นคนเดียวกันที่เข้าใช้งานจากคนละช่องทาง

Google Analytics 4 แก้ปัญหาด้วยการใช้ Event based model ทำให้เห็นภาพรวมของ Customer Journey จัดเก็บข้อมูลแบบ Real Time ทำให้แก้ปัญหาตรงนี้ได้

3. ข้อมูลมีความเป็นปัจจุบัน (real-time)

Consent Mode ของ Google Analytics 4 ช่วยเจ้าของธุรกิจหรือแบรนด์นั้นๆ วัดผลแคมเปญที่ปล่อยออกมาได้อย่างแม่นยำมากขึ้น แม้ว่าผู้บริโภคไม่ยินยอม โดยหากไม่กด Consent ก็จะไม่มีการเก็บข้อมูลส่วนบุคคลเกิดขึ้น แต่จะเป็นการเก็บข้อมูลแบบ Aggregate level ซึ่งเป็นการเก็บข้อมูลแบบไม่ระบุตัวตน

4. ระบบ Machine Learning ช่วยวิเคราะห์ข้อมูล

ความโดดเด่นและพิเศษของ GA4 อีกข้อหนึ่ง ก็คือ Machine learning ทำให้วิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกของธุรกิจได้ รวมถึงการสร้าง Audience ซึ่งจะใช้ Predictive model เข้ามาช่วยวิเคราะห์ว่า ลูกค้าท่านใด มีโอกาสที่จะตัดสินใจซื้อสูง และลูกค้าท่านใดมีโอกานสที่จะยกเลิกการซื้อหรือยกเลิกบริการ ซึ่งมีส่วนช่วยให้การสื่อสารการตลาด เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ตรงจุดมากกว่า ช่วยให้ธุรกิจมีประสิทธิภาพ และเติบโตได้เร็วขึ้น และเพิ่ม ROI ได้รวดเร็วมากขึ้น

5. ใช้ข้อมูลลูกค้าเป็นศูนย์กลาง (Customer-centric data)

GA4 จะมุ่งเน้นไปที่ journey ของลูกค้า โดยสามารถเข้าถึงการเดินทางของลูกค้าทั้งหมด รวมถึง Touchpoints บนอุปกรณ์และแพลตฟอร์มที่แตกต่างกัน ช่วยให้ธุรกิจสามารถสร้าง Personalized Experiences ได้ง่ายมากขึ้น

แม้ว่า Google Analytics 4 จะมีประโยชน์มาก แต่ก็ยังไม่สามารถที่จะเก็บข้อมูลแบบย้อนหลังได้ แต่อย่างไรก็ตาม ลองไปติดตั้ง GA4 กันดู หากติดตั้งและใช้งานเร็วเท่าไหร่ ก็จะยิ่งเป็นประโยชน์กับธุรกิจได้เร็วเท่านั้น

หากคุณสนใจสอบถามรายละเอียด และปรึกษาเกี่ยวกับเรื่องการทำ SEO สามารถติดต่อได้ที่ LINE SEO Guru