background seoguru
google-ranking-factors

200 ปัจจัย ที่ส่งผลต่อการทำ อันดับของ Google ในไทยปี 2024

ความรู้และประสบการณ์ทำ SEO ทั้งหมดของเรา ได้เรียบเรียงออกมาเป็นหัวข้อที่เข้าใจง่าย ทั้งหมด 200 ข้อ แบ่งตามหมวดต่าง ๆ ไว้ ดังนี้

ปรึกษา SEOGURU

สำหรับท่านที่เข้ามาอ่าน คุณน่าจะจะพอรู้อยู่แล้วว่า Google ใช้ปัจจัยที่หลากหลาย และอาจจะมีมากกว่า 1000 ปัจจัย ที่เกี่ยวข้องกับการทำอันดับของ Google

แต่คำถามคือ ปัจจัยเหล่านั้นคืออะไรบ้างล่ะ? ที่มันจะส่งผลต่อการทำอันดับ SEO ได้

ถ้าหากคุณยังมีคำถามในหัวข้อด้านบน ยินดีด้วย เพราะ seoguru.one เราได้เรียบเรียงเกือบทั้งหมด มาไว้ให้แล้วในบทความนี้

  • บางส่วนยืนยันได้ผ่านการทดลองมากนับ 1000 เว็บ
  • บางส่วนยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ในวงการ SEO
  • บางส่วนยังเป็นการคาดเดาหาข้อสรุปไม่ได้ จากผู้เชี่ยชาญทางด้าน SEO 

และเรื่องราวทั้งหมด จะถูกเขียนไว้ที่นี่ และจะพยายามปรับปรุงในทุก ๆ ปี หรือหากมีการ Update ใหญ่ ๆ ที่เกี่ยวข้องจาก Google

และข้อมูลทั้งหมดนี้เพิ่ง Update สำหรับ  ปี 2024

>>>>>> พาส่อง 12 เทรนด์การตลาด มีเนื้อหาที่จะต้องดำเนินต่อไปในปี 2024 มีประเด็นอะไรน่าสนใจบ้าง <<<<<<

ปัจจัยสำคัญ 8 ข้อ ที่ส่งผลต่อการทำ SEO

8 ข้อสำคัญที่ส่งผลต่อการทำอันดับ SEO มากที่สุด แม้ว่ารายการของเราจะมีปัจจัยมากกว่า 200 ข้อ แต่ 8 ข้อที่จะกล่าวไว้ด้านล่างนี้ จะเป็นส่วนสำคัญที่จะส่งผลต่อการทำ อันดับ SEO เป็นอย่างมาก

  1. เนื้อหาที่มีคุณภาพสูง (Quality Content) : เป็นปัจจัยที่สำคัญมากที่สุดอันดับ 1 เลยก็ว่าได้ Google ต้องการให้สร้างเนื้อหาที่มีคุณภาพ เป็นประโยชน์ และเกี่ยวข้องกับผู้ใช้งานมากที่สุด
  2. ลิงก์ย้อนกลับ (Backlinks) : ลิงก์จากเว็บไซต์อื่นๆ มายังเว็บไซต์ของคุณ  Backlink ทำหน้าที่เหมือนการลงคะแนนเสียงยืนยัน ยิ่งคุณมี แบคลิงค์ที่มีคุณภาพ (high-quality backlinks) มากเท่าใด เว็บไซต์ของคุณก็จะมีอันดับสูงขึ้น

  3. เทคนิคการทำ SEO (Technical SEO) : ในส่วนของแง่มุมทางเทคนิคของเว็บไซต์ เช่น ความเร็วของเว็บไซต์ ใช้งานง่ายบนมือถือ (mobile-friendliness) คุณภาพของโครงสร้างเว็บไซต์ และการที่เว็บไซต์สามารถถูกค้นหาได้ง่าย ทำให้แน่ใจว่าเว็บไซต์ของคุณมีความเสถียรไม่พังหรือล่มบ่อย มีส่วนช่วยให้ Google สามารถทำการดัชนีและเข้าใจเนื้อหาของคุณได้ง่าย

  4. การวางแผน Keyword (Keyword Optimization) : กระบวนการใช้คำหลักที่เกี่ยวข้องตลอดเนื้อหาของเว็บไซต์ของคุณ ซึ่งช่วยให้เครื่องมือการค้นหาของ Search Engines เข้าใจว่าเว็บไซต์ของคุณเกี่ยวกับอะไร

  5. ประสบการณ์ผู้ใช้ (User Experience – UX) : การวัดความง่ายและความสนุกในการใช้งานเว็บไซต์ของผู้ใช้ Google ต้องการแสดงเว็บไซต์ที่มี UX ที่ดีแก่ผู้ใช้

  6. การทำเครื่องหมาย Schema (Schema Markup) : ประเภทของข้อมูลที่มีโครงสร้างที่คุณสามารถเพิ่มในเว็บไซต์ของคุณเพื่อช่วยให้เครื่องมือค้นหาเข้าใจเนื้อหาของคุณได้ดียิ่งขึ้น

  7. สัญญาณทางสังคม (Social Signals) : จำนวนการกดไลค์ การแชร์ และการโต้ตอบอื่นๆ ที่มายังเว็บไซต์ของคุณ ทำให้เว็บไซต์ของคุณสามารถแชร์ได้ง่ายและทำให้เกิดการโต้ตอบใน โซเชียลมีเดียต่าง ๆ 

  8. สัญญาณแบรนด์ (Brand Signals) : การรับรู้ภาพรวมของแบรนด์ของคุณในโลกออนไลน์ ทำให้แน่ใจว่าแบรนด์ของคุณเป็นที่รู้จักและได้รับความเคารพ

ปัจจัยในการทำอันดับ SEO ที่เกี่ยวข้องกับ ชื่อโดเมน

1. อายุของโดเมน (Domain Age) : นัก SEO หลายคนเชื่อว่า Google “เชื่อถือ” โดเมนที่มีอายุมากกว่า อย่างไรก็ตาม John Mueller จาก Google ได้กล่าวว่า “อายุของโดเมนไม่มีผลอะไร” แต่สำหรับการทดลองที่ผ่านมาจาก SEOGURU.ONE อายุของโดเมนมีผลในช่วงปีแรก เท่านั้น หากอายุโดเมนเกิน 1 ปี แล้ว คุณภาพของเนื้อหาจะสำคัญมากกว่า อายุโดเมน

2. Keyword ตรงชื่อโดเมน (Keyword Appears in Top Level Domain) : การมี Keyword หลักในชื่อโดเมนของคุณไม่ได้ให้ประโยชน์ SEO เท่าที่เคยเป็น แต่ยังคงทำหน้าที่เป็นสัญญาณความเกี่ยวข้อง. และการทำอันดับ โดยที่ Keyword ตรงโดเมนนั้น จะมาง่ายและเร็วกว่า

3. ระยะเวลาการจดทะเบียนโดเมน (Domain Registration Length) : Google ได้กล่าวไว้ว่า

4. Keyword หลักใน Subdomain (Main Keyword in Subdomain) : ผู้เชี่ยวชาญจาก Moz เห็นพ้องต้องกันว่าการมีคำหลักปรากฏในซับโดเมนสามารถช่วยเพิ่มการจัดอันดับได้.

keyword-appears-in-subdomain-960x307

5. ประวัติของโดเมน (Domain History) : เว็บไซต์ที่มีการเปลี่ยนแปลงเจ้าของบ่อยครั้งหรือมีการถูกทิ้งหลายครั้งอาจทำให้ Google พิจารณา “รีเซ็ต” ประวัติของเว็บไซต์นั้น ทำให้ลิงก์ที่ชี้ไปยังโดเมนถูกยกเลิก หรือในบางกรณี โดเมนที่ถูกลงโทษอาจมีการถ่ายทอดบทลงโทษไปยังเจ้าของใหม่ด้วย.

6. โดเมนชื่อตรงกับคำค้นหา (Exact Match Domain) (EMD) :  ชื่อโดเมนที่ตรงกับคำค้นหา (Exact Match Domains) อาจมีประโยชน์ต่อ SEO น้อยมากหรือไม่มีประโยชน์โดยตรงเลย แต่ถ้า EMD ของคุณเป็นเว็บไซต์คุณภาพต่ำ จะมีความเสี่ยงต่อการถูกอัปเดต EMD.

searchengineland-google-emd-update

7. เปิดเผยข้อมูล vs ปกปิดข้อมูล (Public vs Private WhoIs) : สามารถเปิดเผยข้อมูลในส่วนที่ไม่สำคัญ และปกปิดข้อมูลในส่วนที่สำคัญ เพื่อไม่ให้ข้อมูลรั่วไหลออกไป Matt Cutts ผู้เชี่ยวชาญจาก Google,ได้กล่าวไว้ว่า

Matt Cutts ผู้เชี่ยวชาญจาก Google

8. เจ้าของที่ได้รับการลงโทษอาจส่งผลต่อเว็บไซต์ที่เคยเป็นเจ้าของ (Penalized WhoIs Owner) : หาก Google พบว่าบุคคลที่เป็นเจ้าของเว็บไซต์ เคยทำการสแปมข้อมูลสู่ระบบ เป็นไปได้ว่าเว็บไซต์อื่น ๆ ของบุคคลนั้นจะถูก Google ลงโทษด้วยเช่นกัน

9. ใช้โดเมนระดับบนสุดตามรหัสประเทศ (Country TLD extension) : การใช้โดเมนระดับบนสุดที่มีรหัสประเทศ เช่น .cn , .pt , .ca , .ac.th จะช่วยทำให้เว็บไซต์ติดอันดับต้น ๆ ในการค้นหาของประเทศนั้นได้ แต่จะไม่สามารถทำให้เว็บไซต์ติดอันต้น ๆ ของการค้นหาในประเทศอื่นได้

ปัจจัยการจัดลำดับของหน้าเว็บ

10. คีย์เวิร์ดในหัวข้อหลัก (Keyword in Title Tag) : การใส่คีย์เวิร์ดหลักในหัวข้อ อาจไม่สำคัญเหมือนในอดีต แต่การใส่คีย์เวิร์ดในหัวข้อหลัก ยังเป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับการทำ SEO

keyword-optimized-title-tags-dont-correlate-with-higher-first-page-google-rankings

11. คีย์เวิร์ดหลักควรอยู่ในส่วนแรกของหัวข้อ (Title Tag Starts with Keyword) : จากข้อมูลของ Moz, ระบุเอาไว้ว่า หัวข้อหลักที่มีคีย์เวิร์ดอยู่ในคำแรก มักมีประสิทธิภาพกว่าคีย์เวิร์ดที่อยู่ในส่วนท้ายของหัวข้อ

12. ต้องมีคีย์เวิร์ดในคำอธิบาย (Keyword in Description Tag) : แม้ Google จะไม่ใช้คำอธิบาย (Meta) เป็นการจัดอันดับของการค้นหา แต่การใส่คีย์เวิร์ดในคำอธิบาย ส่งผลต่ออัตราการคลิก (click-through rate) ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการจัดอันดับของการค้นหา

13. ควรมีคีย์เวิร์ดใน H1 (Keyword Appears in H1 Tag) : H1 คือ การบอกชื่อเรื่องของเนื้อหา นอกจากนี้ Google ยังใช้ H1 เพื่อความเกี่ยวข้องในการค้นหา

14 h1 tag study

14. ความถี่-ความยาวของเนื้อหา (TF-IDF) : TF (Term Frequency) – IDF (Inverse Document Frequency) หากมีคำหนึ่งคำที่ปรากฏบนหน้าเว็บไซต์เป็นจำนวนมาก Google จะมองว่าคำนั้นมีความสำคัญหรือความเกี่ยวข้องกับคำนั้นๆ (ดังนั้นจึงไม่ควรมีคำใดคำหนึ่งปรากฏเยอะจนเกินไป)

15. ความยาวของเนื้อหา (Content Length) : เนื้อหาที่มีคำจำนวนมากจะครอบคลุมการค้นหาที่มากกว่า และอาจจะถูกใจการทำงานของอัลกอริธึม จากการศึกษาพบว่าบทความที่มีความยาวเฉลี่ย 1400 คำขึ้นไป มีโอกาสติดการค้นหาในหน้าแรกของ Google

15 average content word count of the 10 results is evenly distributed

16. สารบัญ (Table of Contents) : การใช้สารบัญจะช่วยให้ Google เข้าใจเนื้อหาของหน้าเว็บไซต์ได้ดียิ่งขึ้นและยังเป็นการช่วยทำลิงก์ภายใน (sitelinks) ให้กับเว็บไซต์อีกด้วย

sitelinks-in-google-serp

17. การแยกความหมายของ Keyword ที่สามารถเป็นได้หลายๆคำ (Latent Semantic Indexing Keywords in Content LSI) : เป็นเครื่องมือที่จะช่วยทำให้สามารถที่จะดึงความหมายจาก Keyword ที่มีหลากหลายคำได้ เช่น คำว่า Apple ที่สามารถหมายถึง บริษัทแอปเปิ้ล ที่ขายของเกี่ยวกับอิเลคทรอนิค หรือ ผลไม้ ดังนั้นแล้วการที่จะมี หรือไม่มี คีย์เวิร์ด LSI นั้นก็อาจจะเป็นสิ่งที่บ่งบอกได้เลยว่า เนื้อหาของคุณนั้นมีคุณภาพหรือเปล่า

18. LSI Keywords ใน Title Description ช่วยทำให้เข้าใจความหมายมากขึ้น (LSI Keywords in Title and Description Tags) : การที่เรานำเอา LSI Keywords ไปใส่อยู่ใน Title กับ Description นั้นก็จะช่วยทำให้ทางเว็บ Google นั้นสามารถที่แยกแยะคำที่ต้องการได้ง่ายขึ้นกว่าเดิม แถมยังทำให้บทความของคุณนั้นจะมีประสิทธิภาพมากขึ้นกว่าเดิมอีกด้วย เนื่องจากจะทำให้รู้ว่าบทความนี้เกี่ยวข้องกับอะไร

19. เนื้อหาหน้าเว็บ ครอบคลุม หัวข้อ อย่างละเอียด (Page Covers Topic In-Depth) : เนื้อหา และ หัวข้อ ควรที่จะมีความครอบคลุมกัน หรือไปในทิศทางเดียวกันกับหัวข้อ เป็นสิ่งที่จะช่วยทำให้ทาง Google นั้นจัดอันดับเว็บได้ดีขึ้นกว่าเดิม แน่นอนว่าจะดีกว่าเว็บที่มีเนื้อหน้าครอบคลุมเพียงแค่บางส่วนของหัวข้อเท่านั้น

higher-clearscope-content-grades-correlate-with-higher-google-rankings

20. ความเร็วในการโหลดหน้าเว็บ ผ่าน HTML (Page Loading Speed via HTML) : ความเร็วในการโหลดหน้าเว็บไซต์ นั้นถือว่าเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยทำให้ Google นั้นจัดอันดับเว็บให้ดีขึ้นกว่าเดิม และปัจจุบันทางกูเกิ้ลเองก็ใช้ข้อมูลการวัดผ่าน บราวเซอร์ Chrome เพื่อที่จะประเมินความเร็วในการโหลดหน้าเว็บของแต่ละเว็บไซต์

google-pagespeed-insights

21. การสร้างหน้าเว็บที่แสดงผลได้อย่างรวดเร็วบนมือถือ ( Use of AMP ) : ถึงแม้ว่าการทำ ให้หน้าเว็บแสดงผลได้อย่างรวดเร็วบทมือถือ นั้นจะไม่ใช้ปัจจัยหลักในการทำอันดับกับ Google โดยตรง แต่ก็ถือว่าเป็นหนึ่งในสิ่งที่จะกำหนดการจัดอันดับในรูปแบบของมือถือ หรือเรียกว่า Google News Carousel นั่นเอง

22. มีเนื้อหน้าที่ตรงกับ Keywords ที่ใช้ (Entity Match) : เนื้อหาบทความภายในหน้าเว็บไซต์ ควรตรงกับ คำที่ค้นหา หรือ คีย์เวิร์ด ที่ผู้ใช้งานจริงต้องการค้นหา แน่นอนว่าถ้าหากตรงกันกับหน้าเว็บ ก็จะทำให้หน้าเว็บไซต์ของคุณนั้นมีโอกาสที่จะทำอันดับกับทางเว็บ Google จากคีย์เวิร์ดที่ค้นหาได้ง่ายขึ้นกว่าเดิม

23. อัลกอริธึม ฮัมมิ่งเบิร์ด (Google Hummingbird) : อัลกิริธึม ฮัมมิ่งเบิร์ด นั้นจะช่วยทำให้ทาง Google นั้นมีความฉลาดมากขึ้นกว่าเดิม เพราะว่าสามารถที่จะเข้าใจเกี่ยวกับ หัวใจสำคัญของทางเว็บไซต์ได้ดีขึ้นกว่าเดิม แถมยังช่วยทำให้ทาง Google นั้นมองข้ามคำหลักไปได้อีกด้วย

24. บทความซ้ำในเว็บเดียวกัน (Duplicate Content) : การที่ภายในเว็บมีเนื้อหาซ้ำกันภายในเว็บ ถึงแม้ว่าจะมีการแก้ไขบางส่วนแล้ว ก็อาจจะทำให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับการทำอันดับ seo ได้ เนื่องจากทาง Google นั้นจะมองว่าเป็นการก็อปปี้บทความ ถือว่าเป็นการส่งผลกระทบอย่างหนักกับการทำอันดับ

25. การจัดการเนื้อหาที่ซ้ำซ้อนกัน (Rel=Canonical) : ถ้าหากทำการใช้แท็กนี้อย่างถูกต้อง ก็จะช่วยป้องกันให้ทาง Google นั้นไม่ลงโทษเว็บไซตค์คุณ ในเรื่องที่มีเนื้อหาซ้ำกัน ซึ่งถือว่าเป็นแท็กที่สามารถช่วยทำให้การทำอันดับกับเว็บไซต์นั้นทำได้ง่ายขึ้น แถมยังไม่ต้องมานั่งกังวลอีกด้วย

26. การใส่ชื่อให้กับรูปภาพ (Image Optimization) : สำหรับการใส่ชื่อที่เกี่ยวข้องให้กับ รูปภาพ หรือ Alt Text ก็จะช่วยทำให้การค้นหารูปภาพอาจจะติดอันดับได้เช่นเดียวกัน ซึ่งเราควรที่จะตั้งชื่อรูปภาพให้เข้ากับบทความที่เราทำ หรืออาจจะใช้คีย์เวิร์ดของหน้านั้นๆ ในการตั้งชื่อรูปภาพก็ได้เช่นเดียวกัน

27. ความสดใหม่ของเนื้อหา (Content Recency) : Google จะให้ความสำคัญกับเนื้อหาที่เผยแพร่หรืออัปเดตเมื่อไม่นานมานี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับการค้นหาที่เกี่ยวข้องกับเวลา เพื่อเน้นความสำคัญ Google จะแสดงวันที่ที่หน้าถูกอัปเดตครั้งล่าสุดสำหรับ เพื่อให้ผู้ใช้มั่นใจว่าเนื้อหาที่ได้รับมีความเป็นปัจจุบัน ดังนั้นเราควรปรับปรุงเนื้อหาของเราให้มีความสดใหม่อยู่เสมอ

google-serp-last-updated

28. ขนาดของการอัปเดตเนื้อหา (Magnitude of Content Updates) : เมื่อพูดถึงความสดใหม่ของเนื้อหาในการทำ SEO ไม่ใช่แค่การอัปเดตบ่อย ๆ เท่านั้นที่สำคัญ แต่ขนาดและความสำคัญของการอัปเดตก็มีผลด้วยเช่น การอัปเดตใหญ่ การเพิ่มหรือลบส่วนใหญ่ของเนื้อหา เช่น การเพิ่มบทความใหม่ทั้งบทหรือลบส่วนที่ไม่เกี่ยวข้องออก และ การอัปเดตเล็ก การเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อย เช่น การสลับคำไม่กี่คำ การแก้ไขคำผิด เป็นต้น

29. การอัปเดตหน้าเว็บ (Historical Page Updates) : หน้าเว็บนี้มีการอัปเดตบ่อยแค่ไหน ทุกวัน , ทุกสัปดาห์ , ทุกปี หรือ ไม่มีการอัพเดทมาแล้วเป็นเวลาหลายปี ความถี่ของการอัปเดตหน้าก็มีบทบาทในการแสดงความสดใหม่ด้วย

30. การปรากฏของ Keyword (Keyword Prominence) : เช่นการมีคีย์เวิร์ดปรากฏใน 100 คำแรกของเนื้อหา หรือ พารากราฟแรก ช่วยให้หน้าเว็บติดอันดับได้ดีกว่า

31. การใช้คีย์เวิร์ดในแท็ก H2 และ H3 (Keyword in H2, H3 Tags) : เป็นวิธีหนึ่งในการช่วย Google เข้าใจเนื้อหาของคุณ แต่ไม่ควรพึ่งพาเพียงอย่างเดียว คุณควรให้ความสำคัญกับการสร้างเนื้อหาที่มีคุณภาพและเกี่ยวข้องอย่างแท้จริงด้วย

32. คุณภาพของลิงก์ขาออก (Outbound Link Quality) : การฝากลิงก์ไปยังเว็บไซต์ที่มีอำนาจ ช่วยส่งสัญญาณความเชื่อถือให้กับ Google ตัวอย่างเช่น เว็บทางการต่างๆ , เว็บราชการ เป็นต้น

33. ธีมของลิงก์ขาออก (Outbound Link Theme) : ให้ความสำคัญกับการฝาก Outbound Link ตัวอย่างเช่นหากคุณมีหน้าเว็บเกี่ยวกับรถยนต์ แต่คุณฝากลิงก์ไปยังหน้าเว็บที่เกี่ยวกับภาพยนตร์ นี่อาจบอก Google ว่าหน้าของคุณเกี่ยวกับภาพยนตร์ที่เกี่ยวกับรถ มากกว่าที่จะเป็นรถยนต์จริง

34. ไวยากรณ์และการสะกดคำ (Grammar and Spelling) :ไวยากรณ์และการสะกดคำที่ถูกต้องเป็นสัญญาณของคุณภาพ ดังนั้นควรให้ความสำคัญกับคำผิด และ แก้ไขให้ถูกต้อง เพื่อความน่าเชื่อถือ และมีคุณภาพของหน้าเว็บ

35. เนื้อหาที่เผยแพร่ซ้ำ (Syndicated Content) : การคัดเลือกเนื้อหา หรือ ปรับปรุงเพียงเล็กน้อยจากหน้าเว็บที่ถูกจัดทำดัชนีแล้ว ส่งผลร้ายต่อการจัดอันดับโดยตรง อันดับของเว็บคุณอาจไม่ดี หรือ ร้ายสุดคืออาจจะไม่ได้รับการจัดทำดัชนีเลยก็ได้

36. การอัปเดตเว็บให้รองรับมือถือ (Mobile-Friendly Update) : การอัปเดต หรือ ปรับแต่งเว็บ ให้เข้าถึงง่ายจากมือถือ จะได้คะแนนอันดับเพิ่มเติมจาก การจัดอันดับ

37. รองรับการใช้งานมือถือ (Mobile Usability) : เว็บไซต์ที่รองรับการใช้ง่าย ๆ บนมือถือ ได้เปรียบเรื่องการถูกจัดอันดับดีกว่า ถ้าหากผู้ค้นหาโดยอุปกรณ์มือถือ (Mobile-first Index)

38. เนื้อหาที่ถูกซ่อนไว้บนมือถือ (“Hidden” Content on Mobile) : เนื้อหาที่ทำการซ่อนไว้บนมือถือ จะไม่ได้รับการจัดอันดับ (อาจจะได้ประเมินนิดหน่อย) ถ้าเทียบกับเนื้อหาทั้งหมดแล้ว ซึ่งทาง Google นั้นได้เคยพูดถึงประเด็น การซ่อนเนื้อหาบนมือถือ นั้นเป็นสิ่งที่ยอมรับได้ และได้แนะนำด้วยว่า “…ถ้าหากเนื้อหามันสำคัญ ก็ควรมองเห็นนะ…”
จึงสรุปได้ว่า ถ้าเนื้อหาสำคัญ เราก็ไม่ควรซ่อนมันนะครับ

39. เนื้อหาเสริมจะช่วยเหลือเป็นประโยชน์ (Helpful “Supplementary Content”) : ตามเอกสาร Google Rater Guidelines Document ที่ได้แผยแพร่ต่อสาธารณะนั้นบอกถึง เนื้อหาเสริมที่เป็นประโยชน์จะเป็นตัวชี้คุณภาพหน้าเว็บ มีผลในการจัดอันดับ ยกตัวอย่างเช่น ตัวแปลงสกุลเงิน เครื่องคิดเลขดอกเบี้ยเงินกู้ เป็นต้น

40. เนื้อหาที่ถูกซ่อนอยู่ในแท็บ (Content Hidden Behind Tabs) : ผู้ใช้งานจำเป็นต้องคลิกบน Tab เพื่ออ่านเนื้อหา ในส่วนนี้ทาง Google แจ้งแล้วจะไม่ได้การพิจารณาในการจัดอันดับ

41. จำนวนลิงค์ออก (Number of Outbound Links) : จำนวนลิงค์ออก External Link จากเว็บของคุณ ถ้ามีลิงค์ประเภท Dofollow ส่งเยอะเกินไป จะส่งผลเสียต่อหน้าการทำอันดับ

42. มัลติมีเดีย (Multimedia) : การนำสื่อรูปภาพ และ วิดีโอ เข้ามาแสดงในเนื้อหา เป็นสิ่งที่ทาง Google ชื่นชอบ และมองว่าเว็บไซต์นั้นมีเนื้อหามีคุณภาพ และมีส่วนสำคัญด้านจัดอันดับ

43. จำนวนลิงค์ภายใน (Number of Internal Links Pointing to Page) : จำนวนลิงก์ภายใน Internal Links ที่ชี้มายังเพจนั้นเพื่อบ่งบอกถึงความสำคัญของหน้าเพจนั้นเทียบกับหน้าเพจอื่น บนเว็บไซต์ ถ้าหากหน้าไหนมี ลิงก์ภายในยิ่งมาก = ยิ่งสำคัญมาก

44. ลิงก์ภายในที่มีคุณภาพชี้มายังเพจ (Quality of Internal Links Pointing to Page) : ลิงภายในที่มีคุณภาพและมีอันดับอยู่แล้ว จะมีความน่าเชื่อถือ ทำอันดับได้ดีกว่าลิงที่มาจากไม่มี PageRank หรือ อันดับตํ่า

45. ลิงก์เสีย (Broken Links) : อย่าให้เว็บของคุณมีลิงก์เสียมากเกินไป เพราะ จะถูกทาง Google มองว่าเว็บของคุณไม่มีการดูแล และอาจจะส่งผลต่อการประเมินจัดอันดับวัดผลอันดับหน้าแรก

46. ระดับการอ่าน (Reading Level) : การให้เนื้อหาโดยมีการประเมินระดับการความยาก – ง่าย โดยทาง Google นั้นเคยบอกคะแนนความยากง่าย ในการอ่านเอาไว้ด้วย

Google reading level

แต่ก็ยังมีข้อถกเถียงกันอยู่เกี่ยวกับประเด็นนี้ เพราะบางท่านก็บอกว่าระดับการอ่านขั้นพื้นฐานนั้นจะช่วยให้จัดอันดับได้ดี เพราะมีแรงดึงดูดผู้ใช้งานจำนวนมาก แต่บางคนบ่งบอกถึงระดับการอ่านขึ้นพื้นฐานกับแพลตฟอร์มออนไลน์เนื้อหาคุณภาพสูง และแบ่งปันข้อมูลที่มีประโยชน์กับผู้อ่านทั่วโลก เช่น Ezine Articles

47. ลิงก์ประเภทพิเศษ (Affiliate Links) : การมี Affiliate Links บนเว็บไซต์ ไม่ได้มีผลต่อการจัดอันดับ แต่ถ้ามีลิงก์ประเภทนี้มากเกินไป Google อาจจะเชื่อมโยงไปถึงคุณภาพของเว็บไซต์ และจะมีการตรวจสอบให้แน่ชัดว่า เว็บไซต์ของคุณไม่ได้เป็นเว็บไซต์เพื่อหวังผลทางการตลาดและทำเงินเพียงเท่านั้น

48. ข้อผิดพลาดของ HTML (HTML errors/W3C validation) : การที่เว็บไซต์มี HTML errors มากเกินไป หรือ มีการเขียนโค้ดที่ไม่เป็นระเบียบ จะเป็นการบ่งบอกถึงคุณภาพที่ไม่ดีของเว็บไซต์ แม้ว่าจะยังคงเป็นเรื่องที่ถกเถียงกันอยู่ แต่ SEO หลายคนก็เชื่อว่าเว็บไซต์ที่มีโค้ดที่ดี จะถูกมองว่าเป็นเว็บที่มีคุณภาพด้วยเช่นกัน

49. ความน่าเชื่อถือของโดเมน (Domain Authority) : ทุกอย่างยังคงเหมือนเดิม คือ เว็บไซต์ที่มี Domain Authority สูง ย่อมมีโอกาสที่จะถูกจัดอันดับให้อยู่สูงกว่า เว็บไซต์ที่มีโดเมนความน่าเชื่อถือต่ำ

ahrefs-domain-rating-correlates-with-higher-first-page-google-rankings

50. การจัดลำดับความสำคัญ (Page’s PageRank) : อาจจะไม่ได้เกี่ยวข้องกันโดยตรง แต่หน้าเพจที่มีความน่าเชื่อถือสูง มักจะมีอันดับเหนือกว่าหน้าที่ไม่มี Internal Link หรือ Backlink ที่ดีเข้ามาเลย

51. ความยาวของ URL (URL Length) : การที่ URL มีความยาวมากเกินไป อาจส่งผลต่อการมองเห็นของ Search Engine จากกรณีศึกษา พบว่า URL ที่สั้นและกระชับ จะมีอันดับที่สูงกว่าในหน้าค้นหาของ Google อีกด้วย

url length2

52. เส้นทางของ URL (URL Path) : หน้าเพจที่อยู่ใกล้กับหน้าหลัก มักจะมีโอกาสได้รับความน่าเชื่อถือมากกว่าเมื่อเทียบกับหน้าที่อยู่ลึกลงไปในโครงสร้างของเว็บไซต์ จึงควรจัดวางหน้าเพจที่สำคัญให้อยู่ใกล้กับหน้าหลักมากที่สุด

53. ผู้ใช้สามารถแก้ไขเนื้อหาได้ (Human Editors) : ถึงแม้ว่าจะยังไม่มีการคอนเฟิร์ม แต่ Google ก็มีสิทธิบัตรที่เปิดให้ผู้ใช้งานสามารถแก้ไขเนื้อหาได้ ที่อาจจะมีผลต่ออันดับ Search Engine Results Page อีกด้วย

54. หมวดหมู่ (Page Category) : หน้าเพจที่รวบรวมเนื้อหาที่คล้ายกัน เอาไว้ด้วยกัน จะได้รับการจัดอันดับที่ดีกว่าหน้าที่ไม่ได้ถูกจัดอยู่ในหมวดหมู่ใด หรืออยู่ผิดหมวด

55. มีคีย์เวิร์ดใน URL (Keyword in URL) : อีกหนึ่งเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการจัดอันดับ ถึงแม้ Google จะบอกว่า เป็นปัจจัยเล็กๆ แต่ก็ยังเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดอันดับอยู่ดี

56. หมวดหมู่ย่อยบน URL (URL String) : Google สามารถอ่านหมวดหมู่ย่อยที่แสดงใน URL string ดังภาพ โดยจะเป็นการบอกให้ผู้ใช้ได้ทราบว่า หน้าเพจนั้นมีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับอะไร

url-string-in-google-serp-

57. การอ้างอิงและแหล่งที่มา (References and Sources) : การอ้างอิง และ มีแหล่งที่มาของข้อมูล สามารถบ่งบอกถึงคุณภาพของเนื้อหาบนเว็บไซต์นั้นๆ ว่ามีความน่าเชื่อถือหรือไม่ เช่น มีแหล่งอ้างอิงมาจาก เอกสาร หรืองานวิจัยต่างๆ ซึ่ง Google ก็ออกมาปฎิเสธว่า ไม่ได้ใช้ลิงค์ประเภทนี้เป็นการจัดอันดับ

58. หัวข้อย่อยและลำดับตัวเลข (Bullets and Numbered List) : การแบ่งหัวข้อย่อยและจัดลำดับตัวเลข ทำให้อ่านง่าย และผู้อ่านจะเข้าใจง่ายมากยิ่งขึ้น ทำให้ Google เห็นความสำคัญของเนื้อหาที่มีการจัดลำดับเลข และหัวย่อยอย่างเป็นระเบียบ

59. ความสำคัญของแผนผังเว็บไซต์ (Priority of Page in Sitemap) : Google จะมองถึงความสำคัญของ แผนผังเว็บไซต์ ผ่านไฟล์ Sitemap.xml ซึ่งจะมีผลต่อการจัดอันดับ

60. การมี External Link มากเกินไป (Too Many Outbound Links) : การมี External Link ที่มากเกินไป จะทำให้ Google มองข้ามคุณภาพของเนื้อหาหลักได้

61. ทำอันดับติดหลายคีย์เวิร์ด (UX Signals From Other Keywords Page Ranks For) : หากเนื้อหานั้น ติด Keyword หลายๆคำที่นอกเหนือจากคำหลัก Google จะมองว่า เพจนั้นนั้นมีคุณภาพ

62. อายุของเพจ (Page Age) : ถึงแม้ว่า Google จะชอบเนื้อหาสดใหม่ แต่การปรับปรุง หรือ อัพเดท เนื้อหาเก่าๆ เป็นประจำอาจทำให้มีประสิทธิภาพที่ดีกว่า

63. การจัดวางหน้าเว็บที่ใช้งานง่าย (User Friendly Layout) : โดย Google จะอ้างอิงและประเมิณจาก the Google Quality Guidelines Document

64. โดเมนที่ยังไม่มีพื้นที่ (Parked Domains) : การอัพเดทของ Google ล่าสุด ในเดือนธันวาคม 2011 ได้ลดความสำคัญของ โดเมนที่ยังไม่มีพื้นที่บนเว็บไซต์ (Hosting) ไว้กับโดเมนที่มีพื้นที่แล้ว

65. เนื้อหาที่มีประโยชน์ (Useful Content) : Google ได้แยกระหว่างเนื้อหาที่มีประโยชน์ และ เนื้อหาที่มีคุณภาพออกจากกัน

ปัจจัยที่เกี่ยวกับอันดับของเว็บไซต์

66. เนื้อหาที่มีคุณค่า และมีเอกลักษณ์ไม่ซ้ำใคร (Content Provides Value and Unique Insights) : Google ระบุว่า จะลงโทษเว็บไซต์ที่ไม่เสนอเนื้อหาใหม่ๆเลย โดยเฉพาะเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาน้อย

67. หน้าเพจสำหรับติดต่อ (Contact Us Page) : มีการเปิดเผยว่า Google ชื่นชอบเว็บไซต์ที่ระบุ ข้อมูลการติดต่อ ควรตรวจดูให้แน่ชัดว่าข้อมูลที่ระบุตรงกับ whois (ข้อมูลที่แสดงรายละเอียดของเจ้าของชื่อโดเมน)หรือไม่

68. ความน่าเชื่อถือของโดเมน (Domain Trust/TrustRank) : ผู้เชี่ยวชาญด้าน SEO หลายคนเชื่อว่า ‘TrustRank’ (อันดับความน่าเชื่อถือ) คือปัจจัยหลักในการจัดอันดับของ Google

search result ranking based on trust

69. โครงสร้างเว็บไซต์ (Site Architecture) : โครงสร้างเว็บไซต์ที่จัดเรียงเนื้อหาได้อย่างน่าสนใจ จัดหมวดหมู่ของคอนเทนต์ได้เป็นระเบียบ จะช่วยทำให้ Googlebot เข้าถึงหน้าอื่นๆของเว็บไซต์ได้อย่างครบถ้วน

70. การอัปเดตเว็บไซต์ (Site Updates) : ผู้เชี่ยวชาญด้าน SEO หลายคนเชื่อว่า การอัปเดตเนื้อหาและคอนเทนต์อย่างต่อเนื่องจะส่งผลดีกับเว็บไซต์ แม้ว่าทาง Google จะปฏิเสธเกี่ยวกับเรื่องนี้ก็ตาม

71. การมีแผนผังเว็บไซต์ (Presence of Sitemap) : แผนผังเว็บไซต์ช่วยให้บอทของกูเกิ้ล เข้าจัดทำดัชนีของเว็บไซต์ได้ง่ายและทั่วถึงยิ่งขึ้น แม้ทาง Google จะระบุว่าแผนผังเว็บไซต์ในรูปแบบ HTML ไม่ได้ส่งผลต่อการทำ SEO

72. ความพร้อมใช้งานของเว็บไซต์ (Site Uptime) : หากที่เว็บไซต์มีปัญหาการใช้งานบ่อยๆ มีปัญหาจากเซิร์ฟเวอร์ จะส่งผลต่อการจัดอันดับอย่างมาก (อาจถึงขั้นทำให้เว็บไซต์ถูกถอดออกจากการค้นหา)

73. ตำแหน่งของเซิร์ฟเวอร์ (Server Location) : ตำแหน่งของเซิร์ฟเวอร์มีผลต่ออันดับของเว็บไซต์ มีผลต่อการค้นหาที่เฉพาะเจาะจงตามภูมิภาค

74. ใบรับรอง SSL (SSL Certificate) : SSL (Secure Socket Layer) มีการยืนยันจากทาง Google ว่าการใช้ HTTPS เป็นหนึ่งในปัจจัยหลักในการจัดอันดับของเว็บไซต์

ssl as a ranking signal

75. E-A-T : E = Expertise ความเชี่ยวชาญ , A = Authoritativeness ความน่าเชื่อถือ , T = Trustworthiness ความไว้วางใจ) Google ให้คะแนนความได้เปรียบกับเว็บไซต์ที่มี E-A-T เนื่องจากมองว่าเป็นเว็บไซต์ที่มีประโยชน์ต่อผู้ใช้งาน (โดยเฉพาะเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับสุขภาพ)

76. ข้อมูลซ้ำในเว็บไซต์อาจส่งผลต่ออันดับ (Duplicate Meta Information On-Site) : การที่เว็บไซต์มีข้อมูลที่ซ้ำกันจำนวนมาก อาจส่งผลให้เว็บไซต์ถูกลดการมองเห็นจาก Google

77. เครื่องมือที่ใช้นำทางในเว็บไซต์ (Breadcrumb Navigation) : เครื่องมือที่ช่วยให้ผู้ที่เข้ามายังเว็บไซต์ รู้ว่าอยู่ส่วนไหนของเว็บไซต์ เช่น อยู่ในหมวดอะไร สินค้าประเภทไหน

Google ได้ระบุว่า : “การค้นหาของ Google ได้ใช้เครื่องมือ breadcrumb ในเนื้อหาของหน้าเว็บไซต์ เพื่อจัดหมวดหมู่ข้อมูลในการค้นหา”

breadcrumb navigation

78. การปรับแต่งเว็บไซต์สำหรับมือถือ (Mobile Optimized) : ปัจจุบันการค้นหาส่วนใหญ่มักมาจากมือถือ เว็บไซต์ที่ออกแบบการใช้งานเพื่อมือถือ มีโอกาสที่จะได้รับคะแนนจาก Google สำหรับเว็บไซต์ที่ไม่ได้ออกแบบให้รองรับมือถือ จึงอาจถูกลดคะแนนและส่งผลให้อันดับลดลง

79. วิดีโอจากยูทูปส่งผลดีต่อการค้นหา (YouTube) : ผลการแสดงการค้นหาจาก YouTube จะถูกส่งให้อยู่ในลำดับแรกๆของการค้นหา (เนื่องจาก Google เป็นเจ้าของ YouTube)

**หลังการอัพเดท Google Panda ยอดการเข้าชม YouTube.com เพิ่มขึ้นอย่างมาก**

video seo serp videos

80. เว็บไซต์ที่มีการใช้งานที่ยากอาจส่งผลเสีย (Site Usability) : เว็บไซต์ที่มีการออกแบบที่ซับซ้อน มีการใช้งานยาก อาจส่งผลต่อระยะเวลาผู้ใช้งานในเว็บไซต์ , จำนวนหน้าที่ดู รวมถึง อัตราการออกจากเว็บไซต์ (เป็นปัจจัยการจัดอันดับของ RankBrain)

81. การใช้งาน Google Analytics และ Google Search Console (Use of Google Analytics and Google Search Console) : หลายคนเชื่อว่าการใช้งาน 2 โปรแกรมนี้ช่วยปรับปรุงการจัดดัชนีของเว็บไซต์ได้ รวมถึงยังมีผลต่อการจัดอันดับ เนื่องจากเป็นการเชื่อมต่อและส่งข้อมูลโดยตรงให้กับทางกูเกิ้ล อย่างไรก็ตาม Google ได้เปิดเผยว่าความเชื่อเกี่ยวกับเรื่องนี้ เป็นความเชื่อผิดๆ

82. รีวิวจากผู้ใช้งาน / ความน่าเชื่อถือของเว็บไซต์ (User reviews/Site reputation) : การที่เว็บไซต์นั้นมีชื่อเสียง ก็ถือว่าเป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับการทำอันดับ seo เป็นอย่างมาก นอกจากนั้นแล้วทาง Google เองก็ยังมีคำอธิบายเกี่ยวกับการรีวิวเอาไว้อย่างชัดเจนว่า หลังจากที่มีเว็บหนึ่งถูกจับได้ว่า ทำรีวิวเพื่อต้องการลิงก์ หรือโฆษณา

83. ประสิทธิภาพในการโหลด การโต้ตอบ และ ความเสถียรของหน้าเว็บ (Core Web Vitals) : การโหลด การโต้ตอบ และ ความเสถียร ของหน้าเว็บไซต์ เป็นมากกว่า ตัวตัดสิน ในเรื่องของการจัดอันดับเว็บไซต์เสมอ

ปัจจัยหลัก ในการทำแบล็คลิงก์

84. ทำลิงก์จากโดเมนที่มีอายุเยอะ (Linking Domain Age) : การทำ แบล็คลิงก์ จากโดเมนที่มีอายุเยอะ จะทำให้ลิงก์นั้นมีพลัง และทำอันดับได้มากกว่า การทำจากโดเมนใหม่ที่มีอายุน้อย

85. จำนวนโดเมนที่เชื่อมโยง (# of Linking Root Domains) : จำนวนโดเมนที่เชื่อมโยงกัน ถือว่าเป็นสิ่งที่สำคัญในการจัดอันดับจากอัลกอริทึมของ Google และจากการศึกษาผ่านอุตสาหกรรมของทางกูเกิ้ล ก็จะเห็นได้ว่ามีการค้นหาจาก Google ผ่านลิงก์ที่เชื่อมโยงมากถึง 11.8 ล้านรายการ

of Linking Root Domains

86. การทำลิงก์จากเว็บที่มี IP Class ที่แตกต่างกัน (# of Links from Separate C-Class IPs) : ลิงก์ที่เชื่อมโยงมาจาก IP Address ที่มีความแตกต่างกัน ก็บ่งบอกถึงความหลากหลายของเว็บไซต์ ที่ทำการเชื่อมโยงมายังเว็บไซต์ของคุณ ซึ่งสามารถช่วยให้อันดับเว็บไซต์ของคุณดีขึ้นได้อย่างชัดเจน

87. จำนวนหน้าเว็บไซต์ ที่มีการเชื่อมโยงกัน (# of Linking Pages) : จำนวนหน้าทั้งหมด ที่มีการทำลิงก์เข้ามายังเว็บไซต์ของเรา ถึงแม้ว่าจะมาจากโดเมนเดียวกัน แต่ก็อาจจะส่งผลต่อการจัดอันดับได้เช่นเดียวกัน

88. ข้อความในการทำลิงก์ (Backlink Anchor Text) : จากที่มีการระบุเอาไว้ในกูเกิ้ล ข้อความในการทำลิงก์ นั้นจะอธิบายความหมายของเว็บไซต์ได้เป็นอย่างดี แม้ว่าการทำข้อความในการทำลิงก์ นั้นจะน้อยลงกว่าเมื่อก่อน แถมถ้าหากทำเยอะไปก็อาจจะกลายเป็นสแปมอีกด้วย แต่ทว่าการเลือกใช้คำหลักเป็นข้อความในการทำลิงก์ก็ยังถือว่าเป็นสิ่งที่สำคัญเช่นเดียวกัน

89. ชื่อแท็กสำหรับรูปภาพ (89. Alt Tag for Image Links) : การใส่ชื่อในรูปภาพ จะเป็นสิ่งที่บ่งบอกว่า รูปนี้คืออะไร ซึ่งสามารถทำอันดับรูปภาพจากการค้นหาได้เช่นเดียวกัน

90. การทำลิงก์จากเว็บ .edu กับ .gov (Links from .edu or .gov Domains) : ทาง แมตต์ คัทส์ ได้กล่าวเอาไว้ว่า โดเมนที่อยู่ระดับบนสุด ไม่ได้มีผลต่อความสำคัญของเว็บไซต์ และถ้าหากทำลิงก์จาก .edu กับ .gov จำนวนมากๆ ทาง Google เองก็จะละเลยการทำลิงก์เหล่านี้ไป แต่ก็ยังมีนักทำ seo หลายคนยังคิดว่ามีตำแหน่งพิเศษจากการทำลิงก์จาก .edu และ .gov

91. ความน่าเชื่อถือ ของหน้าเว็บไซต์ที่ทำลิงก์ (Authority of Linking Page) : ความหน้าเชื่อถือ ของหน้าเว็บไซต์ที่อ้างอิง ถือว่าเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยทำให้เว็บไซต์ติดอันดับได้ตั้งแต่ช่วงแรกๆที่ทำเว็บ และก็ยังถือว่าเป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับการทำลิงก์ในปัจจุบันอีกด้วย

link authority

92. ความน่าเชื่อถือ ของโดเมนที่ทำลิงก์ (Authority of Linking Domain) : การทำลิงก์จากโดเมนที่น่าเชื่อถือ นั้นจะมีความสำคัญกับเว็บไซต์เป็นอย่างมาก แถมยังเป็นลิงก์ที่มีคุณภาพดีอีกด้วย

93. ลิงก์จากคู่แข่ง (Links From Competitors) : การทำลิงก์จากหน้าอื่นๆ ที่ถูกจัดอันดับในการค้นหาเดียวกัน จะมีค่ามากกว่าการจัดอันดับของหน้าของคีย์เวิร์ด เนื่องจากจะเป็นหน้าที่มีคามเกี่ยวข้องกันมากกว่า

94. ลิงก์จากเว็บไซต์ที่มีอำนาจ (Links from “Expected” Websites) : ถึงแม้ว่าจะมีการคาดเดา แต่จากที่ผู้เชี่ยวชาญด้าน SEO บางคนนั้นเชื่อว่าทางเว็บ Google เองจะไม่เชื่อเว็บไซต์ของคุณอย่างเต็มที่ 100% จนกว่าคุณนั้นจะได้รับลิงก์จากเว็บชุดที่มีอำนาจในคีย์เวิร์ดที่คุณทำ

95. ลิงก์จากเว็บที่ไม่มีคุณภาพ (Links from Bad Neighborhoods) : การได้ลิงก์จากเว็บที่ไม่มีคุณภาพ อาจจะทำให้เว็บไซต์ของคุณ อันดับตกได้

96. โพสต์ของผู้เข้าชมเว็บไซต์ (Guest Posts) : แม้ว่าการโพสต์ของผู้เข้าชมเว็บไซต์ จะเป็นเรื่องที่ดี แต่ก็ไม่ได้มีพลังทำให้เว็บติดอันดับได้ง่ายขึ้น แถมถ้าหากมีโพสต์ของผู้เข้าชมเว็บมากไป ก็อาจจะทำให้เว็บไซต์คุณต้องเจอกับปัญหาได้เช่นเดียวกัน แถมบางครั้งอาจจะถูกมองว่าเป็น สแปม อีกด้วย

97.ลิงก์จากโฆษณา (Links From Ads) : ตามที่ Google แนะนำ ลิงก์จากโฆษณาควรใช้แท็ก nofollow หรือ rel=sponsored อย่างไรก็ตาม เป็นไปได้ว่า Google สามารถระบุและกรองลิงก์ที่ไม่ใช่ nofollow จากโฆษณาได้

98.ความน่าเชื่อถือของหน้าแรก (Homepage Authority) ลิงก์ที่ชี้ไปยังหน้าแรกของเว็บไซต์ที่อ้างอิงอาจมีความสำคัญเป็นพิเศษในการประเมินความน่าเชื่อถือของเว็บไซต์นั้น ดังนั้นจึงส่งผลต่อความสำคัญของลิงก์นั้นด้วย

99.ลิงก์แบบไม่ติดตาม (Nofollow Link) : นี่เป็นหนึ่งในหัวข้อที่มีความขัดแย้งมากที่สุดในวงการ SEO ตามคำแถลงอย่างเป็นทางการของ Google เกี่ยวกับเรื่องนี้คือ

ลิงก์แบบไม่ติดตาม บ่งชี้ว่าพวกเขายังติดตามลิงก์เหล่านั้นในบางกรณี การมีลิงก์ nofollow ในสัดส่วนหนึ่งของหน้าเว็บอาจเป็นตัวบ่งชี้ว่าโปรไฟล์ลิงก์นั้นเป็นธรรมชาติหรือไม่เป็นธรรมชาติ ก็ได้

100.ความหลากหลายของประเภทลิงก์ (Diversity of Link Types) : การมีลิงก์ที่มาจากแหล่งเดียวอย่างไม่เป็นธรรมชาติ อาจเป็นสัญญาณของเว็บสแปม ในทางตรงกันข้าม ลิงก์ที่มาจากแหล่งที่มาหลากหลายเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงความเป็นธรรมชาติ

101.แท็ก “Sponsored” หรือ “UGC”( “Sponsored” or “UGC” Tags) : ลิงก์ที่ถูกแท็กว่า “rel=sponsored” หรือ “rel=UGC” จะถูกพิจารณาแตกต่างจากลิงก์ “followed” ปกติหรือ “rel=nofollow”

102.ลิงก์บริบท (Contextual Links) : ลิงก์ที่ฝังอยู่ภายในเนื้อหาของหน้าเว็บจะถูกพิจารณาว่ามีอิทธิพลมากกว่าลิงก์บนหน้าว่างหรือที่พบในส่วนอื่นของหน้าเว็บ

contextual backlink

103.การเปลี่ยนเส้นทาง 301 มากเกินไป (Excessive 301 Redirects to Page) : ลิงก์ที่มาจากการเปลี่ยนเส้นทาง 301 จะทำให้ PageRank ลดลงบางส่วน ตัวอย่างเช่นคุณย้ายโดเมนจากเว็บเดิมไปยังเว็บใหม่ด้วยเส้นทาง 301 ที่มากเกินไป มีผลทำให้การจัดอันดับไม่ดี

104.ข้อความแอนเคอร์ของลิงก์ภายใน (Internal Link Anchor Text) : ข้อความแอนเคอร์ของลิงก์ภายใน (Internal Link) เป็นสัญญาณความเกี่ยวข้องอีกประการหนึ่ง อย่างไรก็ตาม ลิงก์ภายในมักมีน้ำหนักน้อยกว่าลิงก์ที่มาจากเว็บไซต์ภายนอก (External Links)

105.การระบุชื่อของลิงก์ (Link Title Attribution) : ชื่อของลิงก์ (ข้อความที่ปรากฏเมื่อคุณวางเมาส์เหนือบนลิงก์) อาจถูกใช้เป็นสัญญาณความเกี่ยวข้องที่มีน้ำหนักอ่อน

106.โดเมน TLD ของประเทศของโดเมนที่อ้างอิง (Country TLD of Referring Domain) : การได้รับชื่อโดเมนที่มีส่วนเกี่ยวข้องอย่างเฉพาะเจาะจงตามประเทศ (.de, .cn, .co.uk .th) อาจช่วยให้คุณมีอันดับที่ดีขึ้นในประเทศนั้น

107.ตำแหน่งของลิงก์ในเนื้อหา (Link Location In Content) : ลิงก์ที่อยู่ในช่วงเริ่มต้นของเนื้อหาอาจมีน้ำหนักมากกว่าลิงก์ที่วางไว้ที่ท้ายเนื้อหาเล็กน้อย

link location html

108.ตำแหน่งของลิงก์ในหน้าเว็บ (Link Location on Page) : ตำแหน่งที่ลิงก์ปรากฏในหน้าเว็บมีความสำคัญ โดยทั่วไปลิงก์ที่ฝังอยู่ในเนื้อหาของหน้าเว็บจะมีน้ำหนักมากกว่าลิงก์ที่อยู่ในส่วนท้ายหรือแถบด้านข้างของหน้าเว็บ

109.ความเกี่ยวข้องของโดเมนที่เชื่อมโยง (Linking Domain Relevancy) : ลิงก์จากเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาในกลุ่มเดียวกันจะมีพลังมากกว่าลิงก์จากเว็บไซต์ที่ไม่มีความเกี่ยวข้องกันเลย ตัวอย่าง คุณทำเว็บขายรถ แต่คุณฝากลิงค์จากเว็บอุปกรณ์ก่อสร้าง เป็นต้น

110.ความเกี่ยวข้องในระดับหน้าเพจ (Page-Level Relevancy) : ลิงก์จากหน้าเพจที่เกี่ยวข้องจะมีพลังที่มากกว่า

111.คีย์เวิร์ดในหัวข้อ (Keyword in Title) : Google จะให้ความสำคัญเป็นพิเศษกับลิงก์จากหน้าเพจที่มีคีย์เวิร์ดของหน้าคุณอยู่ในหัวข้อของหน้าที่เชื่อมโยง

112. ผลลัพธ์ได้รับลิงก์ที่ดี (Positive Link Velocity) : เว็บไซต์ที่ได้รับลิงค์ที่ดีเพิ่มขึ้น จะได้รับการจัดอันดับที่ดี และจะได้รับความนิยมจากผู้ใช้งานเพิ่มขึ้นอีกด้วย

link velocity

113. ผลลัพธ์การได้รับลิงก์ไม่ดี (Negative Link Velocity) : ในทางตรงกันข้าม ถ้าเว็บไซต์ของคุณได้รับลิงค์ไม่ดีจำนวนมาก จะทำให้อันดับตก และได้รับความนิยมจากผู้ใช้งานน้อยลงไปด้วย

114. ลิงก์ที่มาหน้า Hub (Links from “Hub” Pages) : อัลกอริทึม Hilltop แนะนำว่าการได้รับลิงค์จากหน้าที่แหล่งข้อมูล Hub เช่น เว็บไซต์มหาวิทยาลัย สถาบันต่างๆ จะได้รับการดูแลพิจารณาเป็นพิเศษ

115. ได้รับลิงก์จากเว็บผู้มีอำนาจ (Link from Authority Sites) : ลิงค์ที่ได้รับมาจากเว็บไซต์หน่วยงาน จะได้รับคะแนนที่ดีกว่าเว็บไซต์เล็กๆ ที่ไม่ค่อยมีใครรู้จัก

116. เชื่อมโยงลิงค์กับเว็บน่าเชื่อถืออย่าง Wiki (Linked to as Wikipedia Source) : การได้รับลิงค์ จะเป็นแบบ nofollow การได้รับลิงก์จาก Wikipedia จะทำให้เว็บได้รับความน่าเชื่อถือไว้วางใจ แต่ทางเครื่องมือค้นหา Google นั้นได้ออกมาปฏิเสธเรื่องนี้

117. คำที่อยู่รอบ ๆ (Co-Occurrences) : คำที่อยู่รอบๆ Backlink จะเป็นตัวช่วยบ่งบอก Google นั้นทราบเนื้อหาเกี่ยวกับอะไร

Co Occurrences

118. อายุของลิงก์ (Backlink Age) : จากสิทธิบัตรของ Google ลิงก์จากเว็บเก่า มีพลังในการจัดอันดับมากกว่าลิงก์ที่ย้อนกลับที่สร้างขึ้นใหม่

119. ลิงก์ที่มาจากเว็บไซต์จริง (Links from Real Sites vs. “Splogs”) : ลิงก์จากเว็บจริง VS Spam Blog ทาง Google ให้ความสำคัญลิงค์ที่มาจากเว็บจริง มากกว่า บล็อกปลอม ซึ่งพวกเขาเลือกใช้ Brand กับกการตอบโต้ปฏิสัมพันธ์กับผู้ใช้งาน มาเป็นตัวคัดแยกความแตกต่าง

120. ความเป็นธรรมชาติของลิงก์โปรไฟล์ (Natural Link Profile) : เว็บที่มีความเป็นธรรมชาติจาก Link Profile และมีการอัปเดตบ่อยครั้ง จะช่วยทำอันดับดีกว่า ซึ่งเรารู้จักในการทำ SEO สาวขาว ก็ต้องดีกว่ายั่งยืนกว่าการทำ SEO สายดำ อย่างชัดเจน

121. การแลกเปลี่ยนลิงก์ (Reciprocal Links) : Google’s Link Schemes ได้ระบุ ถ้าหากมีการแลกเปลี่ยนลิงค์มากเกินไป ไม่ดีต่อเว็บของคุณควรหลีกเลี่ยง

122. ลิงก์จากผู้ใช้งานเป็นผู้สร้าง (User Generated Content Links) : Google มีความสามารถแยกแยะความแตกต่างระหว่างลิงค์ที่ผู้ใช้งานจริง กับ ลิงค์ User เป็นผู้สร้าง ยกตัวอย่างเช่น Google รู้ว่าลิงค์ที่มาจากบล็อกอย่างเป็นทางการของ WordPress.com นั้นแตกต่างจากลิงก์จาก besttoasterreviews.wordpress.com

123. ลิงก์จาก 301 (Links from 301) : ลิงค์ที่มาจากการ 301 Redirect จะมีค่าน้อยกว่าลิงค์ปกติ แต่ก็มีการยืนยันจาก Matt Cutts เชื่อว่าลิงค์จาก 301 นั้นมีความคล้ายกับลิงก์ปกติที่ได้รับโดยตรง

124. การใช้งาน schema.org : หน้าเพจที่รองรับ microformat ต่างๆ จะสามารถทำอันดับได้ดีกว่าเพจที่ไม่มี โดยการที่มี microformat จะส่งผลช่วยให้ % CTR สูงขึ้นในหน้าแสดงรายงาน SERP

Schema.org Usage

125. อันดับความน่าเชื่อถือของ Backlink (TrustRank of Linking Site) : Backlink ที่มาจากเว็บที่มีอันดับ จะส่งผลจัดอันดับความน่าเชื่อถือ “TrustRank” จะถูกส่งมายังเว็บไซต์ของคุณด้วย

126. จำนวนลิงค์ออกที่ส่งจากเพจ (Number of Outbound Links on Page) : PageRank มีจำนวนจำกัด ลิงก์บนหน้าเว็บที่ส่งออกภายนอกจำนวนมากหลายร้อยลิงก์ จะส่งผ่าน PageRank น้อยกว่าเว็บที่มีจำนวนลิงค์ออกไม่เยอะ

127. ลิงก์ที่มาจากเว็บบอร์ดหรือเว็บกระทู้ (Forum Links) : เนื่องจากมีการสแปมเกิดขึ้นค่อนข้างมาก Google จึงลดความสำคัญของลิงก์จาก Forum ลง

128. จำนวนคำของลิงก์เนื้อหา (Word Count of Linking Content) : ลิงก์ที่มาจากบทความที่มีจำนวนคำมากกว่า 1000 คำ มีพลังมากกว่าลิงก์ที่มาจาก Snippet เพียง 25 คำ แน่นอน

129. มีลิงก์กลับจากเนื้อหาที่มีคุณภาพ (Quality of Linking Content) : ลิงก์ที่มาจากหน้าบทความที่เขียนไม่ดี อย่างบทความสปินที่อ่านไม่รู้เรื่อง จะไม่ส่งค่ามากเหมือนกับหน้าบทความที่มีการเขียนเรียบเรียงอย่างดี

130. ลิงก์ที่กระจายอยู่ทั่วเว็บ (Sitewide Links) : Matt Cutts ยืนยันว่า sitewide links หรือลิงก์ที่กระจายอยู่ทั่วเว็บนั้น จะถูกบีบอัดและนับรวมเป็นแค่ 1 ลิงก์

การตอบโต้ของผู้ใช้งาน

131. อัลกอริทึมการค้นหา (RankBrain) : RankBrain เป็น อัลกอริทึม AI ของ Google ที่หลายคนเชื่อว่า มีหน้าที่หลักในการช่วยประมวลผลและช่วยในการจัดอันดับผลลัพธ์ของการค้นหา

132. อัตราการคลิกจากผลการค้นหา (Organic Click Through Rate for a Keyword) : ข้อมูลจาก Google หน้าเว็บไซต์ที่ได้รับ CTR มากกว่า จะได้รับอันดับใน SERP มากขึ้นใน Keyword นั้นๆ

interpreting-live-experiments-

133. อัตราการคลิกสำหรับคีย์เวิร์ดทั้งหมด (Organic CTR for All Keywords) : อัตราการคลิกนี้อาจถูกมองว่าเป็น “คะแนนคุณภาพ” สำหรับผลการค้นหาแบบออร์แกนิก เพราะบ่งบอกถึงความเกี่ยวข้องของเนื้อหาที่เว็บไซต์นั้นนำเสนอในสายตาของผู้ใช้งานจริงๆ

134. อัตราของผู้ใช้ที่คลิกเข้ามาในหน้าเว็บไซต์แล้วกดออก (Bounce Rate) : ยังคงเป็นรื่องที่มีความเห็นแตกต่างกันว่า ระยะเวลาที่ผู้เยี่ยมชมอยู่หน้าเว็บ จะมีผลต่อการจัดอันดับ แต่จากการศึกษาของ SEMRush พบว่า มีความสัมพันธ์ระหว่างอัตราการตีกลับ กับอันดับของ Google อยู่จริง

bounce-rate-seo

135. การเข้าชมเว็บไซต์โดยตรง (Direct Traffic) : ได้รับการยืนยันว่า Google ใช้ข้อมูลจาก Google Chrome ในการระบุถึงความถี่ในการเข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ และเว็บไซต์ที่มีการเปิดเข้าเว็บโดยตรง จะถูกมองว่าเป็นเว็บคุณภาพดีกว่า เว็บที่ถูกเปิดด้วยวิธีแบบอื่น

136. การเข้าชมเว็บไซต์ซ้ำ (Repeat Traffic) : การที่เว็บไซต์ไหนมีการเข้าชมซ้ำๆ มีโอกาสได้รับการจัดอันดับที่ดีจาก Google

137. การกดออกจากหน้าเว็บไซต์ทันทีเมื่อค้นหาเจอ (Pogosticking) : Pogosticking คือการตีกลับออกจากเว็บไซต์แบบหนึ่ง โดยผู้ใช้งานจะทำการคลิกเข้าเว็บไซต์นั้นและกดกลับออกมาทันที ซึ่งเว็บไซต์ไหนที่ผู้เยี่ยมชมทำการ Pogostick ก็อาจได้รับคะแนนอันดับที่ลดลง เพราะบ่งบอกได้ว่าเว็บไซต์นั้น ไม่สามารถตอบสนองความต้องการหรือให้ข้อมูลที่ตรงกับคำค้นหาได้ดีเท่าที่ควร

pogosticking 1 1440x854 1

ผลการค้นหา ที่ผู้เข้าใช้งานทำ Pogostick ออกไปบ่อย ๆ อาจทำให้อันดับลดลงอย่างมาก

138. เว็บไซต์ที่ถูกปิดกั้น (Blocked Sites) : ถึงแม้ว่า Google ได้ยกเลิกฟังก์ชั่นนี้ออกจาก Chrome ไปแล้ว แต่ Panda หนึ่งในอัลกอริทึมที่ Google นำมาใช้ในการจัดอันดับการค้นหา ยังคงใช้สิ่งนี้อยู่ ดังนั้นก็มีความเป็นไปได้ว่า Google อาจยังคงใช้งานคุณสมบัตินี้อยู่บ้าง

139. หน้าเว็บไซต์ที่ถูก Bookmarks (Chrome Bookmarks) : เราทราบกันดีว่า Google รวบรวมข้อมูลการใช้งานเบราว์เซอร์จาก Chrome หน้าเพจที่มีผู้ทำการบุ๊กมาร์กเอาไว้ อาจได้รับการจัดอันดับที่ดีขึ้น

140. จำนวนความคิดเห็น (Number of Comments) : สำหรับหน้าที่มีความคิดเห็นเป็นจำนวนมาก อาจจะเป็นสัญญาณที่ดีเกี่ยวกับด้านการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้เยี่ยมชม จะสามารถช่วยเพิ่มอันดับได้ดีมาก

number-of-comments

141. ระยะเวลาของการอยู่ในหน้าเพจ (Dwell Time) : Google ให้ความสำคัญกับระยะเวลาที่ผู้ชมเข้าใช้งานหน้าเพจ เมื่อมาจากหน้าค้นหาของ Google โดยถูกนำไปเปรียบเทียบกับ “long clicks” และ “short clicks” ซึ่งหมายถึง ถ้าผู้ชมใช้เวลาอยู่บนเว็บไซต์ของคุณนาน ยิ่งส่งผลดี

กฎพิเศษของอัลกอริธึม Google

142. คำค้นหาจะต้องเป็นคำที่สดใหม่ (Query Deserves Freshness) : Google จะให้คะแนนกับหน้าเว็บไซต์ที่มีความสดใหม่

143. คำค้นหาที่มีหลายความหมาย (Query Deserves Diversity) : Google อาจจะแสดงคำค้นหาที่เป็นคำเดียวกันแต่มีความหมายต่างกัน ซึ่ง Google จะแสดงผลคำค้นหาที่ครอบคลุมคำค้นหานั้นๆ เพื่อให้ผู้ใช้ได้เลือกผลลัพธ์ที่ตรงกับความต้องการค้นหามากที่สุด เช่น คำว่า “TED” อาจหมายถึงชื่อองค์กร หรือชื่อเฉพาะของอย่างอื่นก็เป็นได้ ส่วน “WWF” อาจหมายถึงองค์กรพิทักษ์สัตว์ หรือ มวยปล้ำก็ได้

144. ประวัติการเข้าเว็บไซต์ ( User Browsing History) : หากลองสังเกตการณ์ค้นหาของคุณเอง จะสังเกตได้ว่า เว็บไซต์ที่เข้าใช้งานบ่อยๆ มักจะอยู่ในผลการค้นหาอันดับต้นๆ ในหน้า SERP

145. ประวัติการค้นหาของผู้ใช้งาน (User Search History) : การค้นหาที่มีความต่อเนื่อง จากการค้นหาในครั้งแรกเช่น ครั้งแรก ค้นหาคำว่า รีวิว จากนั้น มาค้นหาคำว่า เครื่องปิ้งขนมปัง Google ก็จะไปจัดอันดับของคำว่า รีวิวเครื่องปิ้งขนมปังขึ้นมาในหน้า SERP

146. เนื้อหาที่แสดงบน Google (Featured Snippets) : ก็คือ ข้อความที่แสดงเนื้อหาของสิ่งที่ต้องการค้นหา ซึ่งอยู่ด้านบนสุดของผลการค้นหา โดยเป็นเนื้อหาสั้นๆ ที่ผู้ใช้ไม่ต้องกดเข้าไปอ่านในเว็บไซต์ โดย จากการศึกษาของ SEMRush Google มองว่า Google จะเลือกข้อมูลที่แสดงจากความยาวของเนื้อหา และ page authority และการใช้ HTTPs มาประกอบการพิจารณา

147. การกำหนดเนื้อหาทางภูมิศาสตร์ (Geo-Targeting) : โดยทาง Google จะให้ความสำคัญกับเว็บไซต์ที่มี Server IP ที่มีนามสกุลโดเมนของแต่ละประเทศ

148. ความปลอดภัยในการค้นหา (Safe Search) : หากเปิดฟังก์ชันนี้อยู่ การค้นหาที่มีเนื้อหา 18+ หรือ เกี่ยวกับเรื่องทางเพศ จะไม่แสดงผล

149. “YMYL” Keywords : Google จะให้ความสำคัญกับคำค้นหาที่มีประโยชน์ ที่เกี่ยวกับเรื่อง สุขภาพ การใช้ชีวิต การเงิน การลงทุน โดยเนื้อหาเหล่านี้จะต้องมาจากเว็บที่มีความน่าเชื่อถือเท่านั้น

150. การร้องเรียน กฎหมายลิขสิทธิ์ DMCA (DMCA Complaints) :Google จะทำการลดอันดับเว็บไซต์ที่มีการละเมิดลิขสิทธิ์ดิจิทัลต่างๆ

151. ความหลากหลายของโดเมน (Domain Diversity) : คือ การเพิ่มจำนวนโดเมนในแต่ละหน้า SERP หรือ เรียกว่า “Bigfoot Update”

152. การค้นหาที่มีจุดประสงค์ในการทำธุรกรรม (Transactional Searches) : Google จะแสดงผลลัพธ์ที่แตกต่างกัน หากเป็นการค้นหาเพื่อที่จะทำธุรกรรมต่างๆ เช่น การชอปปิ้ง การค้นหาเที่ยวบิน เป็นต้น

Transactional Searches

153. การค้นหาในพื้นที่ (Local Searches) : Google จะวางผลการค้นหาสินค้าหรือบริการที่อยู่ใกล้เคียงพื้นที่นั้นๆ เมื่อมีการระบุพื้นที่ ก่อนที่จะแสดงผลการค้นหาแบบปกติของ SERP

Local Searches

154. เรื่องที่กำลังได้รับความนิยม (Top Stories box) : บางคีย์เวิร์ด Google จะทำการแสดงผลไว้ด้านบน Top Stories box

top stories

155. การให้ความสำคัญกับแบรนด์ใหญ่ (Big Brand Preference) : หลังจากที่มีการอัพเดท Vince Google ทาง Google ก็ให้ความสำคัญต่อการแสดงข้อมูลสินค้าของแบรนด์ใหญ่ๆ มากขึ้น

156. ผลลัพธ์ของการค้นหาสินค้า (Shopping Results) : Google จะแสดงผลการค้นหาสินค้า ของ Google ในหน้า SERPs ด้วย

ผลลัพธ์ของการค้นหาสินค้า

157. ผลลัพธ์รูปภาพ (Image Results) : บางครั้งการค้นหาบน Google อาจปรากฏรูปภาพในผลลัพธ์การค้นหา เนื่องจากกูเกิ้ลมองว่าภาพนั้นตรงกับสิ่งที่ผู้ค้นหาต้องการ

158. ผลลัพธ์แบบเซอร์ไพร์ส (Easter Egg Results) : การค้นหาบน Google จะมี Easter Egg results ตัวอย่างเช่น หากพิมพ์การบวกเลขในช่องการค้นหา ผลลัพธ์ที่กูเกิ้ลจะแสดง จะทำการแสดงเครื่องคิดเลขขึ้นมา

159. ผลลัพธ์การค้นหาสำหรับแบรนด์ (Single Site Results for Brands) : การค้นหาคีย์เวิร์ดหรือโดเมน ที่มีชื่อแบบเดียวกัน ผลลัพธ์ที่ได้อาจได้รับการแสดงข้อมูลของ 2 อย่างในการค้นหาเดียว

160. การอัปเดต Payday Loans (Payday Loans Update) : การอัพเดท Algorithm นี้ถือเป็นการอัพเดทแบบพิเศษที่ Google ปล่อยออกมาเพื่อจัดการการค้นหาที่เป็นสแปม

ปัจจัยเกี่ยวกับชื่อ Brand

161. ข้อความลิงก์ที่เป็นชื่อแบรนด์ (Brand Name Anchor Text) : ข้อความลิงก์ที่เป็นชื่อแบรนด์ เป็นสิ่งที่ง่ายและส่งผลดีอย่างมาก

contextual-links

162. การค้นหาแบรนด์ (Branded Searches) : หากมีการค้นหาแบรนด์ของคุณ เป็นสัญญาณบอกให้กับ Google ว่าเว็บไซต์ของคุณคือแบรนด์นั้นจริงๆ

163. ค้นหาชื่อแบรนด์ + คีย์เวิร์ด (Brand + Keyword Searches) : หากมีการค้นหาคีย์เวิร์ดพร้อมชื่อแบรนด์ของคุณ เช่น รับทำ SEO GURU ทาง Google อาจให้คะแนนคีย์เวิร์ดการค้นหาคำนั้นเพิ่ม

164. เว็บไซต์ที่มี Facebook Page และยอด Like (Site Has Facebook Page and Likes) : หากเว็บไซต์ที่เป็นแบรนด์นั้นจริงๆ มักจะมี Facebook Page ที่มียอดไลค์และผู้ติดตามจำนวนมาก

165. เว็บไซต์ที่มีผู้ติดตามทวิตเตอร์ (Site has Twitter Profile with Followers) : โปรไฟล์ทวิตเตอร์ ที่มีผู้คนติดตามเป็นจำนวนมาก ก็แสดงให้ได้เห็นถึงความนิยมของแบรนด์ได้เป็นอย่างดี

166. บริษัทมีหน้า Linkedin (Official Linkedin Company Page) : ปกติแล้วถ้าหากเป็นเว็บบริษัทโดยตรง มักจะมีการทำหน้าบริษัทเอาไว้ใน Linkedin

167. การรู้จักผู้เขียน (Known Authorship) : ในเดือนกุมภาพันธ์ 2013 เอริค ชมิทด์ ผู้บริการของกูเกิลได้กล่าวว่า “การค้นหาข้อมูล ที่การเชื่อมโยงกับโปรไฟล์ออนไลน์ และผ่านการตรวจสอบมาแล้ว จะได้รับการจัดอันดับที่สูงกว่า ข้อมูลที่ยังไม่ผ่านการตรวจสอบ ซึ่งส่งผลกระทบให้ผู้ใช้งานส่วนใหญ่นั้นจะคลิกแค่อันดับต้นๆเท่านั้น”

168. การมีบัญชีโซเชียลที่ถูกต้อง (Legitimacy of Social Media Accounts) : การที่ทำการจดสิทธิบัตรเกี่ยวกับบัญชีโซเชียล เอาไว้ว่าเป็นของจริง ก็จะทำให้ผู้คนที่เข้าใช้บริการนั้นเชื่อถือมากขึ้น เหมือนกับการที่มีผู้ติดตาม 10,000 คน โพสต์แค่ 2 โพสต์ กับการที่มีผู้ติดตาม 10,000 คนแต่มีการตอบโต้เป็นจำนวนมาก ทำให้กูเกิลมองว่าอย่างหลักเป็นของจริง

169. การใช้ชื่อแบรนด์ในหน้าสำคัญ (Brand Mentions on Top Stories) : แบรนด์ใหญ่ๆส่วนมากแล้ว จะมีการพูดถึงตัวเองอยู่ตลอด และในบางแบรนด์เองก็จะมีการเผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับแบรนด์ของตัวเอง เอาไว้ที่หน้าแรกด้วย

brands-stories-in-google-serp

170. การพูดถึงแบรนด์ (Unlinked Brand Mentions) : การที่จะพูดถึงชื่อแบรนด์แต่ไม่มีการทำลิงก์ ทางกูเกิลเองก็มองว่าเป็น สัญญาณ หรือ ข้อความที่ส่งมาจากแบรนด์

171. การระบึตำแหน่งของบริษัท (Brick and Mortar Location) : ถ้าหากเป็นแบรนด์ใหญ่ๆ ทางกูเกิลเองก็จะมองว่าเป็น ตำแหน่งที่ส่งมาจากแบรนด์เช่นกัน

ปัจจัยสแปมบนเว็บไซต์

172. อัลกอริทึมแพนด้า ลงโทษ (172. Panda Penalty) : สำหรับเว็บไหนที่มีเนื้อหา ที่มีคุณภาพต่ำเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะการที่เป็นเนื้อหารวมๆเต็มไปหมด แต่เป็นการรวบรวมมาจากหลายๆเว็บไซต์ ไม่ได้เขียนขึ้นมาเอง ก็จะถูกทาง แพนด้า ทำโทษ แถมทางกูเกิลเองก็จะเห็นเว็บนี้ลดลงด้วย

173.การลิงก์ไปยังเว็บไซต์ที่ไม่ดี (Links to Bad Neighborhoods) : การลิงก์ไปยัง “พื้นที่ที่ไม่ดี” เช่น เว็บไซต์เกี่ยวกับยาที่เป็นสแปมหรือเว็บไซต์สินเชื่อเงินด่วน หรือเว็บไม่มีดีอื่นๆ อาจส่งผลเสียต่อการจัดอันดับ และการมองเห็นของเว็บคุณได้

174.การเปลี่ยนเส้นทาง (Redirects) : การเปลี่ยนเส้นทางแบบหลอกลวงถือเป็นข้อห้ามใหญ่ หากถูกจับได้ อาจทำให้เว็บไซต์ถูกลงโทษหรือแม้กระทั่งถูกนำออกจากดัชนีการค้นหา

175.ป๊อปอัปหรือโฆษณาที่รบกวน (Popups or “Distracting Ads”) : เอกสารแนวทางการประเมินคุณภาพของ Google ระบุว่าป๊อปอัปและโฆษณาที่รบกวนการใช้งานถือเป็นสัญญาณของเว็บไซต์ที่มีคุณภาพต่ำ

176.ป๊อปอัปแบบเต็มหน้าจอ (Interstitial Popups) : Google อาจลงโทษเว็บไซต์ที่แสดงป๊อปอัปแบบเต็มหน้าจอหรือ “interstitial” ให้กับผู้ใช้มือถือ

interstitials

177.การปรับแต่งเว็บไซต์มากเกินไป (Site Over-Optimization) : ใช่แล้ว Google อาจลงโทษผู้ที่ทำการปรับแต่งเว็บไซต์มากเกินไป ซึ่งรวมถึงการใส่คีย์เวิร์ดมากเกินไป, การใส่แท็กหัวเรื่องมากเกินไป, และการตกแต่งคีย์เวิร์ดมากเกินไป

178.เนื้อหาที่ไร้สาระ (Gibberish Content) : สิทธิบัตรของ Google ระบุว่า Google สามารถระบุเนื้อหาที่ “ไร้สาระ” ได้ เมื่อ Google พบเนื้อหาที่ไร้สาระ หรือมีคุณภาพต่ำ เช่น เนื้อหาที่สร้างโดยการปั่นหรืออัตโนมัติ พวกเขาจะกรองออกจากผลการค้นหา ทำให้เนื้อหานั้นไม่ปรากฏในผลลัพธ์การค้นหา

179.หน้าด้านหน้า (Doorway Pages) : Google ต้องการให้หน้าที่คุณแสดงให้ Google เห็นเป็นหน้าที่ผู้ใช้จะเห็นจริง ๆ หากหน้าของคุณทำการเปลี่ยนเส้นทางผู้ใช้ไปยังหน้าอื่น นั่นคือ “หน้าด้านหน้า” (Doorway Page) ซึ่งเป็นสิ่งที่ Google ไม่ชอบ เว็บไซต์ที่ใช้หน้าด้านหน้า (Doorway Pages) มักจะได้รับการลงโทษจาก Google เพราะมีการสร้างหน้าที่มีจุดประสงค์หลักเพื่อหลอกลวงหรือดึงดูดผู้ใช้ไปยังหน้าอื่น ๆ ซึ่งไม่ใช่เนื้อหาที่ผู้ใช้ต้องการจริง ๆ

180.โฆษณาด้านบน (Ads Above the Fold) : “อัลกอริธึมการออกแบบหน้า” (Page Layout Algorithm) ลงโทษเว็บไซต์ที่มีโฆษณาจำนวนมาก (และเนื้อหาน้อย) อยู่ด้านบนของหน้าจอที่สามารถเห็นได้ทันที (above the fold) โดยไม่ต้องเลื่อนลงไปดูเพิ่มเติม ซึ่งอาจทำให้เว็บไซต์ของคุณได้รับการจัดอันดับต่ำลงในผลการค้นหาของ Google

searchengineland google updates page layout algorithm 768x855 1

181. การซ่อนลิงค์แนะนำ Affiliate (Hiding Affiliate Links) : ทำการซ่อนลิงก์ Affiliate Links มากเกินไป (โดยเฉพาะการทำ cloaking) อาจจะทำให้โดนแบนจาก Google ได้ในอนาคต

182. Fred : เป็นชื่อเล่นของการอัปเดตหลาย ๆ อย่างของ Google ในปี 2017 ตามข้อมูลรายงานจาก Search Engine Land Fred กำหนดเว็บไซต์คุณภาพตํ่าที่มีการสร้างรายได้ มากกว่าการช่วยเหลือผู้ใช้

183. เว็บไซต์ Affiliate : Google ไม่ชอบเว็ปไซต์ Affiliate โดยจะมีการให้ค่าน้อย ตามที่หลายๆ คนได้คิด เพราะ Google เองไม่ชอบ affiliate

184. การสร้างเนื้อหาสร้างอัตโนมัติ (Autogenerated Content) : Google ไม่ชอบเนื้อหาที่ถูกสร้างขึ้นแบบอัตโนมัติ ถ้าหากโดนจับได้จะถูกแช่แข็งหรือโดนแบนทันที

185. การพยายามทำอันดับมากเกินไป (Excess PageRank Sculpting) : พยายามทำ PageRank มากเกินไป หรือ ทำอันดับขึ้นไวเกินไป อาจจะทำให้ Google แบนเว็บของคุณได้

186. ที่อยู่ IP ถูกตั้งค่าสถานะเป็นสแปม (IP Address Flagged as Spam) : หาก IP Server ของคุณถูกตั้งค่าสถานะเป็นสแปม แล้วจะส่งผลต่อเว็บไซต์ทั้งหมดบนเซิร์ฟเวอร์นั้นด้วย

187. สแปมบนชื่อและคำอธิบาย (Meta Tag Spamming) : การที่คุณพยายามใส่ Keyword มากเกินไปใน Meta tag จะถูก Google นั้นเข้าใจว่าคุณกำลังแทรกคีย์เวิร์ด ลงไป title และ description tags มากเกินไปแบบผิดปกติ จะทำให้ Google ลงโทษหรือแบนเว็บคุณได้

ปัจจัยการจัดสแปมจากเว็บไซต์ภายนอก

188. เว็บไซต์ที่ถูกแฮ็ก (Hacked Site) : เมื่อเว็บไซต์ของคุณโดนแฮ็ก เว็บของคุณจะถูกลบออกจากผลการค้นหา Search Engine แล้วจะทำการ deindexed เมื่อคิดว่าถูกแฮ็ก

189. การไหลเข้ามาของลิงก์ที่ผิดปกติ (Unnatural Influx of Links) : หากมีลิงก์จำนวนมากไหลเข้ามาอย่างรวดเร็ว และดูไม่เป็นธรรมชาติ นั่นเป็นสัญญาณว่าลิงก์เหล่านั้นอาจเป็นลิงก์ปลอม 
 
190. บทลงโทษของเพนกวิน (Penguin Penalty) : เว็บไซต์ที่โดนลงโทษจาก Google Penguin จะแทบหาไม่เจอเลยในหน้าการค้นหา ถึงแม้ว่าในปัจจุบัน Penguin จะเน้นไปที่การคัดกรองหน้าเพจที่มีลิงก์เสียมากกว่า การโดนแบนไปเลยทั้งเว็บ
 
191. โปรไฟล์ลิงก์ที่มีคุณภาพต่ำในปริมาณมาก (Link Profile with High % of Low Quality Links) : การทำลิงก์ด้วยวิธีการ SEO สายดำ เช่น การทำความคิดเห็นในบล็อก หรือโปรไฟล์ในฟอรั่ม เป็นตัวบ่งชี้ว่าคุณพยายามโกงระบบอยู่ 
 
192. ลิงก์จากเว็บไซต์ที่ไม่เกี่ยวข้อง (Links From Unrelated Websites) : หากเว็บไซต์ของคุณมีแบ็กลิงก์จำนวนมาก ที่ได้มาจากเนื้อหาที่ไม่เกี่ยวข้อง อาจทำให้โดน Google แบนเว็บไซต์ของคุณได้
 
193. คำเตือนลิงก์ที่ผิดปกติ (Unnatural Links Warning) : Google จะส่งคำเตือนไปยัง “Google Search Console” ว่าตรวจสอบพบลิงก์ที่ไม่เป็นธรรมชาติ ซึ่งจะทำให้อันดับลดลง แม้ว่าจะยังไม่ยืนยัน 100% ก็ตาม
 
194. ลิงก์ไดเรกทอรีคุณภาพต่ำ (Low-Quality Directory Links) : จากข้อมูลของ Google แบ็กลิงก์ที่ได้มาจาก ไดเรกทอรีคุณภาพต่ำ อาจนำไปสู่การถูกลงโทษได้
 
195. วิดเจ็ตลิงก์ (Widget Links) : Google ไม่ชอบลิงก์ที่ถูกสร้างขึ้นโดยอัตโนมัติ และฝังบน “widget” ของเว็บไซต์นั้นๆ
 
196. ลิงก์ที่มาจาก IP Class C เดียวกัน (Links from the Same Class C IP) : การได้รับลิงก์ที่ไม่เป็นธรรมชาติ จากเว็บไซต์ที่อยู่บน server IP เดียวกัน อาจทำให้ Google คิดว่า คุณกำลังสร้างลิงค์จากเน็ตเวิร์คของตัวเอง

197.Anchor Text ที่ไม่ดี (Poison Anchor Text) : Anchor Text คือ คำหรือคีย์เวิร์ดที่ทำเป็นลิงค์เชื่อมโยงไปในหน้าที่ต้องการทั้งภายในเว็บไซต์ และภายนอกเว็บไซต์ ซึ่งส่วนใหญ่ในการทำ SEO ก็จะใช้ข้อความที่เป็นคีย์เวิร์ดแล้วทำลิงค์ไปยังหน้าที่มีเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกัน แต่ถ้าหากว่าทำลิงค์เชื่อมโยงไปที่เนื้อหาที่ไม่เกี่ยวข้องกัน Google อาจจะมองว่าเป็น Anchor Text ที่ไม่ดี และมองว่าเว็บโดนแฮ็ก หรือ โดนสแปม ซึ่งจะส่งผลเสียต่อการจัดอันดับ

198. ลิงค์ที่ไม่เป็นธรรมชาติ (Unnatural Link Spike) : สิทธิบัตรของ Google ในปี 2013 อธิบายว่า Google สามารถระบุได้ว่า ลิงค์ที่มายังเว็บไซต์เป็นลิงค์ที่ดีหรือไม่ดี และเป็นลิงค์ที่ถูกต้องหรือไม่ โดยอาจเกิดจากการสร้างลิงค์ที่ไม่ถูกหลัก เช่น การสแปมลิงค์ ดังนั้นหากเจอลิงค์ประเภทนี้ Google อาจจะลงโทษโดยลดระดับความสำคัญลง

199. ลิงค์จากบทความและข่าวประชาสัมพันธ์ (Links From Article Directories and Press Releases) : ในปัจจุบัน Google จะถือว่าการสร้างลิงค์หรือ ฝังลิงค์ จากบทความและข่าวประชาสัมพันธ์ เป็นการจัดการลิงค์ที่ไม่เหมาะสม เพราะอาจมองว่าเป็นลิงค์ที่ทำขึ้นมาอย่างไม่ถูกต้องเพื่อเพิ่มอันดับของเว็บไซต์

200. การสแปมหรือลงโทษโดยเจ้าหน้าที่ (Manual Actions) : เมื่อ Google พบว่า หน้าเว็บไซต์มีการสร้างลิงค์แบบไม่ถูกต้อง หรือ มีการใช้เนื้อหาที่คัดลอกมาจากที่อื่น จะถูกมองว่า เป็นการใช้เทคนิคสายดำ (Black Hat ) เว็บไซต์นั้น ก็จะถูกลงโทษหรือดำเนินการโดยเจ้าหน้าที่ของ Google

201. การขายลิงค์ (Selling Links) : หาก Google จับได้ว่ามีการขายลิงค์ เว็บไซต์ก็จะถูกลดระดับความสำคัญในการค้นหาลง

202. หลุมทรายของ Google (Google Sandbox) : การที่เว็บไซต์ของเราโดน Google ดึงไปเก็บไว้ที่ Sandbox ซึ่งทำให้คนค้นหาเว็บไซต์ไม่เจอ ต่อให้ค้นหาด้วยชื่อเว็บก็ตาม ซึ่งหากเว็บไซต์ไหนที่มี Blacklink เข้ามาเยอะผิดปกติ Google ก็จะทำการจำกัดการมองเห็นของเว็บนั้น โดยการดึงไปเก็บไว้ใน Sandbox นั่นเอง

203. อันดับเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว (Google Dance) : ในระหว่างที่ Google อัพเดท อัลกอริธึม หรือ กำลังจัดอันดับใหม่ ทำให้อันดับของเว็บไซต์มีการเปลี่ยนแปลงอย่างน่าแปลกใจ เช่น ก่อนอัพเดท อยู่ในอันดับที่ 50 แต่อยู่ดีๆ ขึ้นมาอยู่ในอันดับ 10 แบบไม่คาดคิด ซึ่งหากเจอแบบนี้สันนิษฐานได้เลยว่า คือ Google Dance ซึ่งจะมีทั้งแบบขึ้นแบบรุนแรง และร่วงอย่างรุนแรง

Google Dance