สำหรับคนทำเว็บ หลายท่านน่าจะเคยเห็นกันมาแล้ว ว่ามีเว็บหลากหลายเว็บที่มีการแสดงข้อมูล หลากหลายลิงค์ภายในอันดับเดียว หรือที่หลายคนเรียกว่า Google Sitelinks ซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งในตัวเลือกที่จะทำให้เว็บมีความน่าสนใจมากขึ้นกว่าเดิม แถมยังดูโดดเด่นมากขึ้นอีกด้วย ซึ่งเชื่อว่านักทำเว็บหลายท่านนั้นยังไม่รู้ว่า วิธีการทำให้มีตัวเลือกลิงค์หลายลิงค์ในเว็บเดียว ต้องทำยังไง โดยในบทความนี้เราก็จะมาสรุปให้กับทุกท่านได้รู้กันอย่างละเอียด บอกเลยว่าช่วยทำให้เว็บคุณมีคนเข้ามาขึ้นกว่าเดิมแน่นอน
ทำความรู้จัก sitelinks คืออะไร ?
sitelink คือ ลิงค์ต่างๆที่อยู่ภายในเว็บไซต์ของเรา ซึ่งปกติแล้วจะถูกแสดงอยู่ภายใต้ Title และ Description เมื่อทำการค้นหาจาก Keyword หรือ ชื่อเว็บไซต์ โดยทาง Google เองก็จะสุ่มนำ sitelinks มาแสดงผลให้กับทุกท่านได้เห็นกัน แน่นอนว่าเราไม่สามารถเลือกได้เลยว่าจะให้เอาอะไรมาแสดง ทั้งนี้การที่ไซต์ลิ้งค์นั้นถูกนำมาแสดง ก็จะช่วยทำให้มีโอกาสคนกดลิงค์เข้ามาภายในเว็บเรามากขึ้นกว่าเดิม
แนะนำข้อดีของการมี sitelinks ภายในเว็บ
ในส่วนของข้อดี ของการที่เว็บเรานั้นถูกแสดงผลจาก Google Sitelinks นั้นก็บอกได้เลยว่าจะช่วยทำให้เว็บเรานั้นมียอดคนเข้ามาขึ้นกว่าเดิมอย่างแน่นอน เนื่องจากมีการโชว์เมนูต่างๆให้เห็นมากขึ้น ทำให้สามารถที่จะเข้ามาดูหน้าอื่นได้ทันที โดยที่ไม่ต้องเข้าหน้าแรกก่อน และถ้าหากหน้าที่ถูกนำมาโชว์เป็นหน้าที่คนใช้งานต้องการอยากจะดูก็จะยิ่งทำให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีมากขึ้นกว่าเดิมดังนี้
- ช่วยเพื่อยอดการคลิ๊กเข้าสู่เว็บไซต์ หรือ CTR ให้มากขึ้น
- เพิ่มจำนวนผู้ใช้งานเข้าสู่เว็บไซต์
- ช่วยเพิ่มโอกาสในการเพิ่มยอดขาย หรือ การบริการต่างๆ
- ทำให้เว็บมีความน่าเชื่อถือมากขึ้นกว่าเดิม
นอกจากนั้นแล้ว การปรับโครงสร้างของเว็บไซต์ให้มีโอกาส ในการแสดง Google Sitelinks นั้นยังมีวิธีการเดียวกับการปรับให้เข้ากับการทำอันดับอีกด้วย และนั่นก็ทำให้เว็บไซต์มีโอกาสที่จะติดอันดับได้ง่ายขึ้นกว่าเดิมเช่นเดียวกัน เรียกได้ว่าปรับครั้งเดียวได้ประโยชน์ทั้งสองทางเลยทีเดียว
sitelink แบ่งออกเป็นกี่ประเภท
สำหรับ sitelink นั้นจะถูกแบ่งออกเป็นมากมายหลายประเภท และแน่นอนว่าแต่ละประเภทก็จะมีความแตกต่างกันออกไปด้วย ซึ่งวันนี้เราก็จะมาอธิบายให้กับทุกท่านได้ดูกันอย่างละเอียด เพื่อที่จะทำให้ทุกท่านเข้าใจได้ง่ายขึ้นกว่าเดิม ส่วนจะมีอะไรบ้างก็ตามเรามาดูกันได้เลย
- Organic Sitelinks
sitelinks แบบทั่วๆไป ที่มีการรองรับค้นหาจาก Keyword ที่มาจากชื่อแบรนด์ หรือ ชื่อโดเมนโดยตรง ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะแสดงให้เห็นเฉพาะเว็บไซต์ที่ติดอันดับ 1 เท่านั้น แถมยังมีโอกาสแสดงมากถึง 6 ลิงก์เลยทีเดียว โดยถือว่าเป็นการแสดงหน้าได้เป็นอย่างดี และมีการเพิ่ม Traffic ให้อีกด้วย
- One-Line sitelinks
เป็นการแสดงผล sitelink ที่อยู่ในบรรทัดเดียวกัน ซึ่งการแสดงรูปแบบนี้จะเห็นได้บ่อยมาก เนื่องจากจะอยู่ใต้ Title กับ Description และแน่นอนว่าการแสดง Google Sitelinks รูปแบบนี้ยังไม่จำเป็นต้องอยู่อันดับ 1 ก็สามารถที่จะแสดงได้ โดยจะสามารถแสดงได้สูงสุดถึง 4 ลิงก์
- Sitelinks search box
Google Sitelinks ที่จะแสดงช่องที่เอาไว้สำหรับ ค้นหาข้อมูลภายในเว็บไซต์ ตั้งแต่การหาที่หน้าเว็บกูเกิ้ล เพื่อที่จะสร้างความสะดวกสบายให้กับผู้ใช้งาน ได้ทำการหาข้อมูลได้ตั้งแต่ที่อยู่บนหน้าเว็บไซต์ แต่ถึงอย่างไรช่องการค้นหานี้นั้นจะแสดงขึ้นมาแบบสุ่มจาก อัลกอริทึม ของทางกูเกิ้ล ดังนั้นแล้วแม้ว่าภายในเว็บนั้นจะมีการทำช่องค้นหาเอาไว้ แต่ก็ไม่ได้แปลกว่าจะสามารถที่จะค้นหาภายใน Google Sitelinks ได้ทันที
- Paid Google Sitelinks
นอกเหนือจากการทำ Google Sitelinks แบบธรรมชาติแล้ว ก็ยังสามารถที่จะใช้เงินในการทำได้เช่นเดียวกัน แต่จำเป็นที่จะต้องทำโฆษณากับทาง Google ก่อนถึงจะสามารถที่จะสร้าง Extension Sitelinks ได้ แถมยังสามารถที่จะเลือกหน้าที่ต้องการจะโชว์ได้อีกด้วย
ขั้นตอนการ ปรับแต่งเว็บไซต์ ให้มีโอกาสแสดง Google Sitelinks
อย่างแรกเลยต้องบอกก่อนว่า การทำให้แสดง Google Sitelinks แบบธรรมชาตินั้นถือว่าเป็นสิ่งที่ไม่ได้การันตี 100% เนื่องจากทางกูเกิ้ลเองไม่ได้มีการกำหนดเอาไว้ ว่าต้องทำยังไงถึงจะแสดงแบบ 100% ดังนั้นถ้าอยากจะมีโอกาสในการแสดง Google Sitelinks ก็สามารถที่จะทำการปรับโครงสร้างเว็บให้ดี เพื่อที่จะทำให้ BOT เข้ามาเก็บข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว แถมยังมีโอกาสที่จะติดอันดับดีขึ้นอีกด้วย ส่วนจะต้องปรับอะไรบ้าง เราได้ทำการรวบรวมมาให้กับทุกท่านได้ดูกันดังนี้
- วางโครงสร้างเว็บไซต์ให้ดี ไม่ซับซ้อน
โครงสร้างเว็บไซต์ หรือ Sitemap ถือว่าเป็นหนึ่งในสิ่งสำคัญที่จะทำให้ เว็บไซต์ใช้งานง่ายขึ้นกว่าเดิม เพราะว่าคนที่เข้าใช้งานจริง ต้องการอยากจะได้ข้อมูลที่ถูกต้อง ไม่ซับซ้อน ค้นหาแล้วเจอทันที ซึ่งแน่นอนว่าถ้าหากเรามีการวางแผนโครงสร้างเว็บไซต์ให้ดี ก็จะทำให้ BOT เข้ามาเก็บข้อมูลของเว็บไซต์ได้เร็วขึ้น
- ส่ง Sitemap ให้กับ Google
ปกติแล้วเมื่อทำเว็บไซต์เสร็จแล้ว Bot Google นั้นจะมีการเข้ามาตรวจสอบเพื่อที่จะดูข้อมูลของแต่ละเว็บไซต์ ซึ่งขั้นตอนนี้อาจจะต้องใช้เวลานานหน่อย แต่ถึงอย่างไรถ้าหากคุณใช้ Google Search Console ก็บอกได้เลยว่าคุณจะไม่ต้องบอทให้เสียเวลาอีกต่อไป เพราะว่าเราสามารถที่จะเรียกให้ บอท เข้ามาเก็บข้อมูลของเว็บได้ง่ายขึ้นด้วยการกดปุ่ม Submit URL
- เน้นการทำ Internal Link
แน่นอนว่าการทำ Internal Link ถือว่าเป็นสิ่งที่จะทำให้ตัวเว็บมี Traffic มากขึ้น เนื่องจากแต่ละหน้านั้นสามารถที่จะเชื่อมต่อหากันได้ และยิ่งถ้าเนื่องจากนั้นมีความเชื่อมโยงกัน ก็มีโอกาสที่ทางกูเกิ้ลนั้นจะนำหน้านั้นๆ มาทำเป็น Google Sitelinks ให้อีกด้วย
- หัวข้อไม่ควรซ้ำกัน
แน่นอนว่า Heading Tag นั้นเป็นหนึ่งในสิ่งที่มีความสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะว่าการเขียนหัวข้อ นั้นควรที่จำเขียนให้เข้ากับ Keyword ที่นำมาใช้ แถมยังต้องมีความน่าดึงดูดอีกด้วย เพื่อที่จะทำให้คนเข้ามาคลิ๊กใช้งานมากขึ้น โดยเฉพาะ H1 ที่บอกเลยว่าไม่ควรใช้ซ้ำกับหน้าอื่นๆ เพราะนั่นจะทำให้ Google นั้นสับสนว่าอันไหนคือหน้าไหน และนั่นก็อาจจะทำให้มีหัวข้อเดียวกันเกิดขึ้นอยู่ใน Google Sitelinks อีกด้วย
- ทำการหน้าเว็บแบบ SEO
นอกจากจะทำเว็บให้มีคุณภาพที่ดี เพื่อที่จะให้ติดอันดับแล้ว แต่การทำให้ Google มองว่าเว็บไซต์ของคุณ มีประโยชน์ต่อผู้คนจำนวนมาก ที่กำลังค้นหาในกูเกิ้ล ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยทำให้ทางกูเกิ้ลเลือกเว็บนี้ มาทำเป็น Google Sitelinks มากขึ้น
ซึ่งถ้าหากคุณทำตามวิธีที่เราได้แนะนำไปแล้ว ก็บอกได้เลยว่า นอกจากจะมีโอกาสแสดง Google Sitelinks แล้ว ก็ยังมีโอกาสที่จะติดอันดับใน Google ได้ง่ายขึ้นกว่าเดิมอีกด้วย เพราะว่าการทำตามรูปแบบที่เราแนะนำ นั้นถือว่าเป็นหนึ่งในการทำ seo เช่นเดียวกัน ทั้งนี้ถ้าหากอยากจะทำเว็บให้ติดอันดับสูงๆ ก็สามารถที่จะใช้บริการทาง seoguru ได้ตลอดเวลา