Yoast SEO เป็นสิ่งที่สำคัญอย่างมากต่อการทำเว็บไซต์ เป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ทำให้เว็บไซต์ติดอันดับของ Google สำหรับผู้ที่ทำเว็บไซต์ด้วย WordPress และอยากเข้าใจเกี่ยวกับการใช้ปลั๊กอินยอช เราจะพาทุกท่านมาดูวิธีใช้งานให้ได้ประสิทธิภาพมากที่สุดกัน
Yoast SEO คืออะไร
Yoast SEO คือ ปลั๊กอินตัวหนึ่งที่มีการทำงานในด้าน Technical SEO ทำให้กูเกิ้ลเข้าใจเกี่ยวกับเว็บไซต์และหน้าเพจนั้นๆ การทำงานของยอชอาจไม่ได้ทำให้เว็บไซต์ของเราติดอันดับที่ 1 ของการค้นหา แต่การทำงานของยอชถือเป็นตัวช่วยในการจัดการโครงสร้างเนื้อหาในหน้าเว็บไซต์ หากจัดการหน้าเหล่านั้นได้ดีมากพอ สัญญาณไฟจราจรจะแสดงเป็นสีเขียว
หากสัญญาณไฟแดงปรากฏ นั่นหมายความว่าการจัดหน้าน SEO ในหน้านั้นๆยังไม่ดีพอ จะต้องปรับแต่งโครงสร้างหลายอย่าง แต่หากสัญญาณไฟเป็นสีเหลืองถือว่าการปรับแต่งโครงสร้างอยู่ในระดับปานกลาง และหากสัญญาณไฟเป็นสีเขียว แสดงว่าการจัดโครงสร้างของหน้าทำได้อย่างดีเยี่ยม ถูกต้องตามหลักและมีโอกาสที่ Google จะจัดเว็บไซต์ของเราไปอยู่ในลำดับแรกๆของการค้นหา
ปลั๊กอิน Yoast SEO มีประโยชน์ยังไงบ้าง
การทำงานปลั๊กอิน Yoast SEO มีประโยชน์หลายอย่าง ที่นอกเหนือจากการปรับแต่ง SEO โดยยังมีประโยชน์ที่เชื่อมโยงได้ดังนี้
- Optimize On page SEO
- Create Google Knowledge Graph (schema)
- Create XML Sitemap
- Create canonical URLs on every page
- Fix duplicate content with Canonical
- Fix Thin Content with Noindex
- Create robots.txt file
- Redirect Function (yoast premium version)
ตัวอย่างการทำงานของปลั๊กอินยอช จะทำการตรวจเช็คหน้าเว็บไซต์หรือหน้าบทความ
จากรูปดูเหมือนว่าการทำให้ไฟเขียวติดอาจจะเป็นเรื่องง่าย แต่จริงๆแล้วการทำให้ไฟเขียวติดไม่ใช่เรื่องที่ง่าย เนื่องจากจะต้องเจ้าใจเกี่ยวกับพื้นฐานของ SEO มีความเข้าใจเกี่ยวกับเทคนิคการทำเอสอีโอ ดังนั้นหากคุณอยากเข้าใจเกี่ยวกับการทำงานของปลั๊กอิน WordPress ตัวนี้แล้วละก็ ดาวน์โหลด Yoast SEO ในเว็บไซต์ของคุณเอาไว้ได้เลย
**การทำงานปลั๊กอิน Yoast ยังไม่เข้าใจเกี่ยวกับโครงสร้างที่เป็นเนื้อหาภาษาไทย 100% ดังนั้นจึงไม่ต้องคาดหวังให้ทุกหน้าหรือทุกบทความเป็นไฟเขียว
วิธีใช้งาน Yoast SEO
วิธีใช้ Yoast SEO แบบละเอียด ทำตามรับรองไฟเขียวทุกดวง
1. ในบทความต้องมี keyword อย่างน้อย 1 คำ
การทำบทความจะต้องโฟกัสคีย์เวิร์ด 1 คำเป็นหลัก 1 หน้า focus keyword 1 คำ ไม่ควรอัพคีย์เวิร์ดทุกอย่างลงไปในหน้าเดียว เนื่องจากสิ่งที่ผู้ค้นหาต้องการคือการค้นหาในสิ่งที่ต้องการ ดังนั้นหากอยากให้เว็บไซต์มีผู้เข้าชม ควรต้องใส่คีย์เวิร์ดและเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกันเท่านั้น
จากนั้นเมื่อทำบทความเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ให้เข้าไปในส่วนหลังบ้านนำ keyword ของบทความที่ทำใส่ลงไปในช่อง Focus keyphrase
Focus keyphrase คือ คำค้นหาหลักหรือที่เรียกกันว่า Keyword เมื่อใส่คำนี้ลงไป ตัวปลักอินจะจัดการให้คำนี้เป็นคำหลักในการค้นหา
หลังจากใส่คีย์เวิร์ดลงไปในช่อง focus keyphrase ไฟสีเขียวจะเริ่มปรากฏ จากนั้นให้ทำตามสิ่งที่ตัวปลักอินแนะนำไปทีละข้อ
2. ใน meta description ควรมีคีย์เวิร์ดอยู่ด้วย
Meta Description หรือ คำอธิบายบทความแบบย่อ เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่สำคัญอย่างมากในการจัดหมวดหมู่ของบทความ ดังนั้นควรมีคีย์เวิร์ดในส่วนนี้อย่างน้อย 1 คำ โดยคำอธิบายจะต้องไม่มีความยาวและสั้นจนเกินไป และจะต้องทำให้ผู้อ่านเข้าใจถึงสิ่งที่จะสื่ออีกด้วย
3. ชื่อเรื่องบทความต้องไม่สั้นไม่ยาวจนเกินไป
เนื่องจากการทำงานของตัวปลักอินยังไม่เข้าใจภาษาไทย 100% ดังนั้นทำให้การนับจำนวนคำของภาษาไทยและอังกฤษมีการนับคำที่แตกต่างกัน การใช้ชื่อเรื่องของบทความควรใส่ให้พอดีๆหรือควรใส่ให้เป็นสีเขียวเท่านั้น
4. ใส่ focus keyword คำแรกของในชื่อของบทความ
การทำงานของอัลกอลิทึมของ Google จะอ่านข้อความจากขวาไปซ้าย รวมถึงอ่านบทความจากบนลงล่าง ดังนั้นหากต้องการให้บอทเข้าใจบทความของคุณ ควรใส่ focus keyword ในคำแรกของชื่อบทความ รวมถึงคำแรกของบทความ
5. ควรมี keyword อยู่ใน url
การเลือกใช้คีย์เวิร์ดให้ตรงกับสิ่งที่ผู้คนหาต้องการ นอกจากจะสำคัญแล้ว สิ่งสำคัญอีกหนึ่งอย่างคือการไม่เลือกใช้คีย์เวิร์ดที่มีคำยาวจนเกินไป เมื่อเลือกคำที่มีความยาวมาใส่ใน url คำเหล่านั้นจะถูกตัดและส่งผลให้กโอกาสที่จะขึ้นไฟเขียวมีน้อย วิธีการเช็คว่าคีย์เวิร์ดมีความยาวหรือไม่ให้คลิกคำว่า Edit snippet
ช่อง Slug คือช่องสำหรับใส่ url เมื่อนำคีย์เวิร์ดไปใส่เรียบร้อยแล้ว ให้ทำการกดเซฟเพื่อดูว่า คีย์เวิร์ด มีความยาวเกินไปหรือไม่ หากมีความยาวเกินไป คีย์เวิร์ดจะถูกตัดให้สั้นลงโดยอัตโนมัติ
6. keyword ควรอยู่ในย่อหน้าแรกของบทความ
ย่อหน้าแรก (first paragraph) ควรใส่ focus keyword ในส่วนนี้ เนื่องจากย่อหน้าแรกเป็นเหมือนคำแนะนำหรือบทสรุปทั้งหมดของบทความ ดังนั้นจึงควรมี keyword อยู่ในส่วนนี้เพื่อบอกให้ google เข้าใจว่าบทความที่ทำไปคืออะไร
7. ความยาวเนื้อหาของบทความที่ดีต้องยาวไม่น้อยไปกว่า 300 คำ
ตัวปลักอิน Yoast แนะนำบทความที่ดีควรจะต้องมีอย่างน้อย 300 คำภาษาอังกฤษ หากแปลเป็นคำไทยนั้นหมายความว่าจะต้องทำบทความอย่างน้อย 700 คำขึ้นไป แต่ทว่าปลักอินกลับยังไม่เข้าใจภาษาไทย 100% ดังนั้นการทำไฟเขียวในข้อนี้ อาจจะต้องมีการหยวนๆกันไปบ้าง แนะนำให้ทำอย่างน้อย 200 คำขึ้นไป เพราะการทำงานของ Yoast จะทำการนับคำตรง The text contains แต่หากต้องการทำให้บทความมีคุณภาพ ควรจะต้องเขียนอย่างน้อย 1,400 คำ ภาษาไทย ขึ้นไป
8. ต้องใส่ keyword ลงใน Alt text ของรูปภาพประกอบบทความ
การทำบทความจะต้องมีรูปภาพประกอบด้วยทุกครั้งอย่างน้อย 1 รูป และเมื่อทำการอัพรูปเข้าไปในช่อง Alt text ควรต้องใส่ focus keyword ลงในรูปอย่างน้อย 1 รูป สิ่งสำคัญควรใส่ Alt text ตั้งแต่ตอนอัพโหลดรูปภาพเนื่องจากจะทำให้โฟกัส keyword ได้ตรงจุด
*ไม่ควรใส่ focus keyword ใน Alt text ของทุกรูป ควรหาคำที่เกี่ยวข้องเข้ามาใส่ในรูปอื่นๆ เพื่อเพิ่มยอดการค้นหาการเข้าชมเว็บไซต์
9. ต้องมี external link และ internal links
การที่เว็บไซต์มีลิงก์ภายนอก (external link) ไปยังเว็บไซต์ที่มีความน่าเชื่อถือเป็นแหล่งอ้างอิง เป็นส่วนหนึ่งที่จะทำให้เว็บไซต์ได้คะแนนจากการกูเกิ้ล รวมถึงการมีลิงก์ภายใน internal links จะช่วยส่งยอดการเข้าชมไปยังหน้าอื่นๆในเว็บไซต์ รวมถึงยังทำให้บอทของกูเกิ้ลเข้าถึงส่วนต่างๆของเว็บไซต์ได้ง่ายยิ่งขึ้นอีกด้วย
การทำลิงก์ไปยังบทความอื่นๆหรือหน้าเว็บอื่นๆ ควรทำในรูปแบบของ Anchor Text คือ การทำข้อความใส่ลิงก์แบบ hyper link ไปยังบทความที่มีความเกี่ยวข้องกัน
10. ปริมาณของ keyword ไม่ควรเกิน 2.5% ของคำนวนคำบทความ
จำนวน keyword มีผลกับบทความอย่างมาก Keyword density หรือ ปริมาณคีย์เวิร์ดที่เหมาะสมไม่ควรเกิน 2.5% ของจำนวนคำของบทความทั้งหมด นอกจากใส่เวิร์ดในประโยคแรกของบทความ ควรกระจายคีย์เวิร์ดในส่วนต่างๆของบทความ
11. ต้องมีคีย์เวิร์ดในหัวข้อย่อย (heading)
หลักการเขียนบทความ SEO Content ที่มีคุณภาพ ต้องเขียนบทความให้เข้าใจง่าย ไม่มีความซับซ้อนเพื่อทำให้ผู้อ่านทุกคนเข้าใจและได้ข้อมูลในสิ่งที่ต้องการ
แต่สำหรับการทำเอสอีโอ ควรจะต้องมีการแบ่งคีย์เวิร์ลงในหัวข้อบทความ (heading) จะเลือกใส่ใน H2 , H3 , H4 ควรเลือกใส่ตามความเหมาะสม ที่สำคัญควรกระจายใส่ ไม่ใส่ในปริมาณที่มากเกินไป เพื่อไม่ให้กูเกิ้ลมองว่าบทความของคุณเป็นบทความสแปม
12. ควรจัดวางบทความให้อ่านง่าย
การจัดวางให้มีความน่าสนใจ นอกจากจะทำให้ผู้อ่าน ได้อ่านเนื้อหาที่น่าอ่านแล้ว ในแต่ละย่อหน้าควรมีความยาวของบทความไม่เกิน 5 บรรทัด รวมถึงต้องมีการเว้นวรรคของบทความให้เหมาะสม เพื่อทำให้ผู้อ่าน อ่านบทความได้อย่างเข้าใจ
หากต้องการเน้นคำหรือประโยคที่ต้องการให้ผู้อ่านสนใจ สามารถเลือกใส่ ขีดใต้ , ใส่ตัวหน้า , ตัวเอียง , ใส่สี เข้าไปได้เช่นกัน รวมถึงการนำลิงก์จากภายนอกหรือวีดิโอมาใส่ ก็ทำให้มีโอกาสที่ไฟเขียวด้วยเช่นกัน
13. ทำ Social markup
Yoast มีฟังชั่นพิเศษที่สามารถแชร์รูปภาพและ title ไปยังโซเชี่ยลมีเดียอื่นๆอีกด้วย วิธีการทำได้ง่ายๆเพียงแค่คลิกเลือกที่ social share จากนั้นใส่ข้อมูลที่สำคัญรวมถึงคีย์เวิร์ดลงไป รวมถึงจะต้องใส่รูปภาพปกที่มีความน่าสนใจ โดยขนาดของรูปภาพหน้าปกที่แนะนำคือ 1200×630 px เมื่อนำไปแชร์ยังโซเชียลมีเดียวต่างๆ บทความของคุณก็อาจจะเรียกยอดผู้เข้าชมเว็บไซต์ได้เพิ่มขึ้นอีกด้วย
หลังจากทำทุกอย่างเสร็จสิ้น ทดลองแชร์ไปยัง Facebook เพื่อดูว่ารูปภาพรวมถึงบทความที่เขียนไปแสดงครบถ้วนหรือไม่ หากนำไปแชร์ใน Facebook ไม่แสดงรูปภาพสามารถแก้ปัญหาด้วย Facebook Debugger
สรุป วิธีใช้ Yoast SEO
การใช้งานปลั๊กอิน Yoast Seo เป็นตัวช่วยในการตรวจเช็คโครงสร้างของบทความ ให้ตรงกับความต้องการของ Google แม้จะไม่มีสิ่งการันตีว่าจะช่วยทำให้ติดลำดับแรก ๆ ของการค้นหาได้จริงหรือไม่ก็ตาม แต่การปรับแต่งให้บทความมีความน่าสนใจ ปรับแต่งให้กูเกิ้ลเข้าใจบททความได้ดียิ่งขึ้น ก็อาจส่งผลให้กูเกิ้ลให้คะแนนกับเว็บไซต์มากขึ้น รวมถึงยังอาจมีจำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์ที่มากขึ้นด้วยเช่นกัน
หากต้องการเข้าใจเกี่ยวกับการทำ SEO ให้มากกว่านี้ ที่เว็บไซต์ SEO GURU ของเรามีบทความเกี่ยวกับการทำเอสอีโอ เทคนิคต่างๆ และบทความที่น่าสนใจจำนวนมาก หรือหากท่านใดที่ต้องการปรึกษาการทำอันดับเว็บไซต์ แอดไลน์มาที่ ไลน์@ Seo Guru ของเราได้เลย เราพร้อมช่วยให้เว็บไซต์ของคุณทะยานขึ้นสู่ลำดับแรกของการค้นหาบน Google